กลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ ของ บีอีซี-เทโร_เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) จำแนกประเภทของการประกอบธุรกิจ ออกเป็น 8 กลุ่มหลัก ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

  • กลุ่มธุรกิจจัดหารายการแสดงและจัดกิจกรรม - ธุรกิจกลุ่มนี้ จำแนกเป็นช่วงวัยของผู้ชม 3 กลุ่มคือ กิจกรรมสำหรับครอบครัว (Family Events) เช่นการแสดงของดิสนีย์ หรือการแสดงมายากล, กิจกรรมสำหรับเยาวชน (Youth Events) เช่นการแสดงคอนเสิร์ต ของศิลปินเพลงสมัยใหม่ จากต่างประเทศ และ กิจกรรมร่วมสมัยสำหรับผู้ใหญ่ (Adult Contemporary) เช่นการประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์ หรือการแสดงคอนเสิร์ต ของศิลปินเพลงยุคอดีต จากต่างประเทศ[1]
  • กลุ่มธุรกิจวิทยุกระจายเสียง - ธุรกิจกลุ่มนี้ มีการก่อตั้ง บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด ขึ้นอยู่ในเครือบีอีซี-เทโรฯ เพื่อดำเนินการผลิต รายการวิทยุตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันมีสัมปทานอยู่ใน 3 คลื่นความถี่ คือเอฟเอ็ม 95.5 เมกะเฮิร์ตซ์ เวอร์จินฮิตซ์ (Virgin Hitz) ปัจจุบันชื่อว่า Hitz 955 (ฮิตซ์ เก้าห้าห้า) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545, เอฟเอ็ม 98.0 เมกะเฮิร์ตซ์ เวอร์จิ้นสตาร์ (Virgin Star) ปัจจุบันชื่อ Star FM. (สตาร์ เอฟเอ็ม) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และเอฟเอ็ม 105.5 เมกะเฮิร์ตซ์ อีซีเอฟเอ็ม (Eazy FM) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 นอกจากนี้ ยังดำเนินการส่งวิทยุกระจายเสียง ผ่านออนไลน์ทางเว็บไซต์ www.becteroradio.com ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 อีกจำนวน 3 ช่องรายการคือ แร็ดเรดิโอ (Rad Radio), ร็อกออนเรดิโอ (Rock on Radio) และ โตฟุป๊อปเรดิโอ (Tofu Pop Radio) ซึ่งผู้ฟังสามารถสื่อสารกับนักจัดรายการวิทยุ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งสามารถเข้าใช้ด้วยสมาร์ตโฟน และแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตโฟน[5]
  • กลุ่มธุรกิจดนตรี - ธุรกิจกลุ่มนี้ มีการก่อตั้ง บริษัท บีอีซี-เทโร มิวสิก จำกัด ขึ้นอยู่ในเครือบีอีซี-เทโรฯ เพื่อรับสิทธิในการบริหารลิขสิทธิ์ และจัดจำหน่ายงานดนตรี รวมถึงการประชาสัมพันธ์ศิลปิน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในสังกัดโซนีมิวสิก, วายจีเอ็นเตอร์เทนเมนต์, ฮอตเท็ต และเบเกอรีมิวสิก ทั้งร่วมผลิตผลงานดนตรี และบริหารศิลปินในสังกัดเลิฟอีส นอกจากนี้ ยังเปิดให้บริการเว็บไซต์ www.qikplay.com เพื่อจำหน่ายเพลงไทยสากล และเพลงสากลในรูปไฟล์ดิจิทัล และจำหน่ายของที่ระลึกจากศิลปิน[3]
  • ธุรกิจบริการบัตรผ่านประตู - ธุรกิจกลุ่มนี้ มีการก่อตั้ง บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำกัด ซึ่งเกิดจากบีอีซี-เทโรฯ เข้าร่วมทุนกับกลุ่มเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ เมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อให้บริการรับจอง และจำหน่ายบัตรผ่านประตู อย่างครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย[6] โดยมีสาขาจำหน่ายบัตร ซึ่งดำเนินการเอง มากกว่า 300 แห่ง ทั้งมีสาขาร่วมกับธุรกิจอื่น เช่นศูนย์การค้า, ห้างสรรพสินค้า, โรงภาพยนตร์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีระบบจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ www.thaiticketmajor.com, ศูนย์โทรศัพท์ (Call Center) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Wap)[3]
  • กลุ่มธุรกิจกีฬา - ธุรกิจกลุ่มนี้ ดำเนินกิจการในสถานะของ ผู้จัดรายการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เช่นเทนนิสรายการไทยแลนด์โอเพน ของสมาคมเทนนิสอาชีพ (Association of Tennis Professionals; ATP), ตะกร้อรายการซูเปอร์ซีรีส์ ของสหพันธ์ตะกร้อนานาชาติ (International Sepaktakraw Federation; ISTAF) รวมทั้งรับจ้างเป็นผู้จัดกิจกรรมเชิงกีฬา ให้แก่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ เช่นการแข่งขันโปโลคิงส์คัพ เป็นต้น[1] นอกจากนี้ยังโดยดำเนินการพัฒนา มาตรฐานของนักฟุตบอลไทย ร่วมกับ สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ในพรีเมียร์ลีกด้วย[3]
  • กลุ่มธุรกิจและบริการอื่น - นอกเหนือจากธุรกิจกลุ่มหลัก ดังกล่าวข้างต้นแล้ว บีอีซี-เทโรฯ ยังดำเนินกิจการอื่นอีกคือ บริการจัดทำโฆษณาประชาสัมพันธ์, รับจ้างบริการประชาสัมพันธ์ทั่วไป, รับจ้างผลิตและจัดกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งดำเนินงานการกุศล ภายใต้ชื่อ บีอีซี-เทโร แคร์ (BEC-Tero Care) นอกจากนี้ ยังจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพ ประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณด้วย[1]

บริษัทลูก

ตัวเลขในวงเล็บ ข้างท้ายชื่อบริษัท หมายถึงอัตราร้อยละ ที่บีอีซี-เทโรฯ ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว[4]

  • บริษัท บีอีซี-เทโร เรดิโอ จำกัด (99.99)
  • บริษัท บีอีซี-เทโร เมียนมาร์ จำกัด (99.99)
  • บริษัท บีอีซี-เทโร แอ๊พพ์ (40.00)

บริษัทร่วมทุน

ตัวเลขในวงเล็บ ข้างท้ายชื่อบริษัท หมายถึงอัตราร้อยละ ที่บีอีซี-เทโรฯ ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว[4]

บริษัทร่วมดำเนินธุรกิจ