สังคม ของ บ้านพลับ

สภาพบ้านเรือนของชาวบ้านพลับมีความมั่นคงถาวร ส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้มุงกระเบื้องและสังกะสีมีการจัดบริเวณบ้านถูกสุขลักษณะครอบครัวมีความอบอุ่น และครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ

ข้าวปลอดสารพิษ ข้าวเม่าแปรรูปจากข้าวปลอดสารพิษ ข้าวเม่าแปรรูปจากข้าวปลอดสารพิษผลิตภัณฑ์ชุมชนผลผลิตทางการเกษตรผ้าไหมบ้านพลับผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่


  • ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดี คนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
  • เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคน และประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปีอ่านออกเขียนได้ครบทุกคน
  • ผู้สูงอายุ คนชรา คนพิการ ได้รับการดูแลสงเคราะห์และช่วยเหลือจากกองทุนต่าง ๆ ในชุมชนด้านสวัสดิการเป็นอย่างดี
  • คนในครัวเรือนมีส่วนร่วมในการเวทีประชาคม โดยแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนโดยสม่ำเสมอ
  • หมู่บ้านมีการจัดบูรณาการทุนในชุมชน และใช้ศูนย์กลาง คือ ศูนย์บูรณาการทุนชุมชนเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติงาน ศูนย์ข้อมูลชุมชน และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนในชุมชนในอนาคตข้างหน้า มีกลุ่มกิจกรรมในชุมชนจำนวน 19 กลุ่ม เงินทุน

ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้านคือ วัดหนองพลับ เป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ตั้งอยู่ที่บ้านพลับ หมู่ 4 ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์

อาชีพหลักทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยง สัตว์ ค้าขาย รับจ้าง อุตสาหกรรมหัตถกรรมในครัวเรือน

ผลิตภัณฑ์ของชุมชน

  • ชาวบ้านพลับจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อจัดทำกิจกรรมสร้างเสริมรายได้ด้านอาชีพและกิจกรรมที่เป็นสวัสดิการชุมชน โดย การบูรณาการทุนที่มีอยู่ในชุมชนเข้าด้วยกันปัจจุบัน และมี ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เด่น ๆ ได้แก่
  • ข้าวปลอดสารพิษ เป็นข้าวสารมะลิพันธุ์ดี ปลูกดูแลและบ ารุงดินโดยไม่ใช้สารเคมีซึ่งเมล็ดข้าวจะ “ หอม ขาว ยาว และนุ่ม” ดำเนินการโดยกลุ่มโรงสีชุมชน(เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตข้าวเม่าปลอดสารพิษ เป็นข้าวเม่าแปรรูปจากข้าวปลอดสารพิษ ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ดัดแปลง เครื่องมือในการผลิต ดำเนินการโดยกลุ่มสตรี เป็นการสร้างเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง
  • ผลิตภัณฑ์จากไหม กลุ่มสตรีดำเนินการ มีการปลุกหม่อน,เลี้ยงไหม ,ทอผ้าไหมลวดลายต่าง ๆ เช่นลายอัมปรม , ลายโฮล ,ลายลูกแก้ว ,ลายโสร่งเปราะ,ลายกะเนียว ฯ ล ฯ
  • ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ดำเนินการโดยกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ส่วนใหญ่ทำเป็นของใช้ในครัวเรือน ,เครื่องมือดักจับสัตว์ เช่น ลอบ,ไซ,สวิง,หวดนึ่งข้าว,กระบุง และอื่น ๆ

ประเพณีที่สำคัญของชุมชน

  • เดือนมกราคม มีการจัดแข่งขันกีฬาประจำปี “บ้านพลับ-บ้านค้อ” , กิจกรรมวันเด็ก
  • เดือนเมษายน มีการจัดกิจกรรมวันกตัญญูผู้สูงอายุ , การทำบุญรวมญาติ , ประเพณีเรือมอันเร (รำกระทบสาก)
  • ประเพณี “แซนโดนตา” ซึ่งเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ และเครือญาติได้มีโอกาสพบหน้ากัน สร้างความอบอุ่นในครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง

ครัวเรือนในหมู่บ้านเป็นสมาชิกกลุ่มที่ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน จำนวน 19 กลุ่ม โดยมี กิจกรรมหลัก คือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแกนน้าการพัฒนาและเชื่อมโยงสู่กิจกรรม อื่น ๆ เช่น ศูนย์สาธิตการตลาด ,โรงสีชุมชน ,ยุ้งฉาง-ธนาคารข้าวธนาคารโค-กระบือ ,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก,กองทุนผู้สูงอายุ ,กลุ่มเยาวชน และอื่น ๆ ที่เป็นเงินทุนที่สนับสนุนจากทั้งทางราชการและเอกชนซึ่งแต่ละกลุ่ม องค์กรของหมู่บ้านสามารถดำเนินกิจกรรมประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถเป็น แหล่งเรียนรู้ให้แก่กลุ่มองค์กรที่สนใจศึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2551และมีการขยายผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชนขึ้นในปี พ.ศ. 2553 มีการกำหนด กิจกรรมการเรียนรู้ 3 สถานี คือ

  • สถานีเรียนรู้เรื่องทุนชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรม กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ศูนย์สาธิตการตลาด โรงสีชุมชน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ฯลฯ
  • สถานีเรียนรู้เรื่องการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • สถานีเรียนรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรม ทอผ้าไหม ข้าวเม่า จักสานและช่างเฟอร์นิเจอร์

มีคณะกรรมการดำเนินการศูนย์เรียนรู้ชุมชน ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการกิจกรรมและเก็บรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ของชุมชนรวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

เอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล:ข้อมูลในหมู่บ้านพลับและกลุ่มต่างๆในหมู่บ้านพลับ