ปฏิกิริยาข้ามกัน

ปฏิกิริยาข้ามกัน (อังกฤษ: Cross-reactivity) เป็นปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนกับแอนติบอดีซึ่งจะทำให้เกิดการต่อต้านแอนติเจนที่คล้ายกันแต่คนละชนิดกัน มีตัวอย่างปฏิกิริยาข้ามกันจำนวนน้อยที่ได้รับการยืนยันในมนุษย์ หนึ่งในกรณีดังกล่าว คือ ปฏิกิริยาข้ามกันระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่เฉพาะเซลล์ที CD8+ และแอนติเจนของไวรัสตับอักเสบซี[1]โดยการจำกัดความแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันจะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงกับแอนติเจนซึ่งสร้างมันขึ้นมาเพียงชนิดเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม "แอนติเจน" ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติจำนวนมากเป็นการผสมผสานระหว่างแมโครโมโลกุล (เช่น แบคทีเรีย ชีวพิษ โปรตีน เรณู ฟังไจ ไวรัส เป็นต้น) ซึ่งมีหลายอิพิโทพ การสัมผัสกับแอนติเจนซึ่งมีความซับซ้อนเช่นไวรัส จะทำให้เกิดการกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่หลากหลายไปต่อต้านแมโครโมเลกุลที่แตกต่างกัน ซึ่งผสมรวมกับไวรัส เช่นเดียวกับแต่ละอิพีโทพของแต่ละแมโครโมโลกุลสำหรับการนำไปใช้ทางการแพทย์สำหรับแนวคิดดังกล่าวรวมไปถึงการสร้างภูมิคุ้มกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ชีวพิษซึ่งสร้างการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันจะมีอิพิโทพซึ่งกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง การแปลงสภาพของโปรตีนอาจทำให้กระบวนการดังกล่าวถูกยกเลิก แต่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีการตอบสนอง และสร้างภูมิคุ้มกันได้โดยไม่ทำอันตรายต่อผู้ป่วย

ใกล้เคียง

ปฏิกิริยาต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566 ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ปฏิกิริยามายาร์ ปฏิกิริยาฟอสฟอรีเลชัน ปฏิกิริยารีดอกซ์ ปฏิกิริยาสะเทิน