นานาชาติ ของ ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

ยุโรป

  •  นครรัฐวาติกัน : สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงส่งพระราชสาส์นจากกรุงวาติกันถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อแสดงความอาลัยแด่การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ความว่า “ข้าพเจ้ารู้สึกโศกเศร้าเสียใจอย่างยิ่งที่ได้รับทราบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สวรรคตแล้ว และในช่วงเวลาแห่งความโทมนัสนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจกับพระบรมวงศานุวงศ์และพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ” “ข้าพเจ้าสวดมนต์ภาวนาแด่พระองค์ กษัตริย์ผู้เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์และทรงพระปรีชา ผู้นำพาความสงบสุขมาสู่แผ่นดินของพระองค์ ขอทุกวิญญาณของพระองค์ทรงสถิตสู่สวรรคาลัย”[5]
  •  เนเธอร์แลนด์ : สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ และ สมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงมีพระราชสานส์ความว่า ความรู้สึกที่ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว สำหรับประชาชนชาวไทยแล้ว พระองค์เป็นเหมือนดั่งความมั่นคง แม้แต่มีช่วงเวลาที่ปั่นป่วนตลอดรัชสมัยที่ยาวนานกว่า 70 ปี ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่พระองค์ทรงเน้นย้ำถึงความสามัคคีและน้ำหนึ่งใจเดียวกัน นึกถึงครั้นสมเด็จพระราชินีแม็กซิม่า, พระมารดา เจ้าหญิงเบียทริกซ์ และตัวข้าพเจ้าเอง เคยได้เฝ้าพระองค์ ขอส่งความระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์” ทั้งนี้ได้มีพระราชดำรัสเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ในฐานะที่ทรงให้ความสำคัญต่อคุณค่าแห่งความสามัคคีและความร่วมมืออย่างสันติของประชาชนในชาติ นอกจากนี้กระทรวงต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ ปรับข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวดัตช์ในไทย เพื่อให้เข้ากับสภาวะของการไว้ทุกข์ โดยแนะนำให้นักท่องเที่ยวเคารพกฎระเบียบและสังคมไทย[9] ทั้งนี้ในวันที่ 26 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2560 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระราชินีมักซิมา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  •  ฝรั่งเศส : ประธานาธิบดีฟรองซัวส์ ออลลองด์ ได้กล่าวแสดงความอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเทิดทูนพระองค์สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน จนทำให้พระองค์เป็นที่รักของชาวไทย [10]
  •  รัสเซีย : ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ได้ส่งสาส์นแสดงความอาลัยใจความว่า “ตลอดหลายสิบปีที่ทรงครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นที่รักและเทิดทูนอย่างจริงใจของพสกนิกรชาวไทย และทรงเป็นที่เคารพนับถืออย่างยิ่งในต่างประเทศ”[11]
  •  เยอรมนี : นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ได้แสดงความอาลัยต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน โดยระบุว่า"พระองค์ได้สร้างความทันสมัยและสร้างความแข็งแกร่งต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงการครองราชย์นาน 70 ปี ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อความผาสุกของปวงชนชาวไทย" [12]

อเมริกา

  •  แคนาดา : นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ทวีตข้อความแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย ความว่า "ข้าพเจ้าขอร่วมแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าและประชาชนชาวไทยทุกคน" ในขณะที่เดวิด จอห์นสตัน ผู้สำเร็จราชการแคนาดา ส่งสาสน์แสดงความเสียใจถึงรัฐบาลไทย
  •  เม็กซิโก : ประธานาธิบดีเอนรีเก เปญา เนียโต ทวีตข้อความแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย ความว่า "ข้าพเจ้ามีความโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง หลังได้ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" "ขอแสดงความเสียใจต่อประชาชนชาวไทยและรัฐบาลไทยต่อการสูญเสียในครั้งนี้"
  •  สหรัฐ : ประธานาธิบดีบารัก โอบามา แถลงการณ์แสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย โอบามากล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทรงงานอย่างทรงไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการพัฒนาบ้านเมือง ทรงอุทิศพระองค์ด้วยความแน่วแน่เพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ของราษฎร ด้วยพระปรีชาสามารถด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ตลอดจนทรงใฝ่พระทัยในนวัตกรรม พระองค์ได้ทรงคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเป็นที่ยกย่องไปทั่วโลก น้ำพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยพสกนิกรชาวไทยโดยเสมอมาจะเป็นสมบัติอันล้ำค่าที่ชนรุ่นหลังจักเทิดทูนสืบต่อไป"
    และยังกล่าวว่า "ทรงเป็นมิตรที่ใกล้ชิดของสหรัฐอเมริกาและทรงเป็นพันธมิตรที่ทรงค่ายิ่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลายคน ข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าเมื่อคราวเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ. 2555 ข้าพระพุทธเจ้ายังรำลึกได้ถึงพระราชจริยวัตรอันงดงามและนํ้าพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย
    [13]
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา แอชตัน คาร์เตอร์ กล่าวว่า "พวกเราขอร่วมกับประธานาธิบดี บารัก โอบามา แสดงความเสียใจมายังพระราชวงศ์ไทยและประชาชนชาวไทยทุกคนต่อการสูญเสียในครั้งนี้"[13]
  • อดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน และภรรยา ตัวแทนพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2559 ฮิลลารี คลินตัน ได้ร่วมแสดงความเสียใจต่อการสวรรคต กล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นผู้นำที่ประเสริฐและเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา พระองค์ทรงเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและไทย ในฐานะชาติพันธมิตรแรกของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังทรงเป็นผู้นำที่อุทิศตนเพื่อประชาราษฎร์อย่างแท้จริง" และยังกล่าวอีกว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เดินทางเยือนขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพื่อเข้าร่วมในงานเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี ทั้งยังได้มีโอกาสเฉลิมฉลองและแบ่งปันความรักในดนตรีแจ๊สร่วมกับพระองค์, และฮิลลารีก็รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระองค์เมื่อครั้งเดินทางเยือนประเทศไทยร่วมกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา ในปี พ.ศ. 2555"[13]

เอเชีย

  •  อาเซอร์ไบจาน : ประธานาธิบดีอิลฮัม อะลีเยฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากต่อข่าวการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เราทั้งหลายขอร่วมแสดงความอาลัยในวาระแห่งความสูญเสียอันยิ่งใหญ่"[14]
  •  บาห์เรน : สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อัลเคาะลีฟะฮ์ และมกุฎราชกุมารแห่งบาห์เรน ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นายกรัฐมนตรีและประชาชนชาวไทย[15] นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีบาห์เรนยังแสดงความเสียใจยังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ และประชาชนชาวไทยความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงถูกจดจำโดยคนรุ่นต่อไปในความพยายามของพระองค์ เพื่อสันติภาพและความมั่นคงของประชาคมโลก รวมทั้งพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย"[16]
  •  บังกลาเทศ : ประธานาธิบดีอับดุล ฮามิด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจโดยกล่าวว่า "รู้สึกตกใจอย่างที่สุดต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขอให้ดวงพระวิญญาณของพระองค์เสด็จสู่สุคติ"[17] ในขณะที่นายกรัฐมนตรีเชก ฮาซินา ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย โดยกล่าวยกย่องว่า "พระองค์ทรงเป็นที่เคารพบูชาของชาวบังกลาเทศ ทรงเป็นสัญลักษณ์ของคุณความดี การอุทิศตน และงานด้านมนุษยธรรม" และ "พระองค์จะทรงเป็นที่เคารพนับถือในใจของเราตลอดไป ในฐานะพระมหากษัตริย์ในอุดมคติ ผู้ทรงประสบความสำเร็จในทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง"[18]
  •  จีน : ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ และประชาชนชาวไทยความว่า "รัฐบาลจีนของแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้พัฒนาประเทศ พระองค์ทรงเป็นผู้ขับเคลื่อนให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองแผ่นดิน คือไทย-จีนที่ไม่สามารถแบ่งแยกออกไปจากกันได้ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนจะไม่มีวันแน่นแฟ้นหากปราศจากพระองค์ การที่ประเทศไทยสูญเสียพระองค์ คือการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของของประชาชนทั้งสองแผ่นดินเช่นกัน และโดยส่วนตัว ท่านประธานาธิบดีเองเชื่อว่าพระองค์จะยังคงอยู่ในใจของประชาชนทั้งสองแผ่นดินนี้ตลอดไป"[21] เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ที่ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงห่วงใยพสกนิกรเป็นอย่างยิ่ง ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้วยพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อความผาสุกของพสกนิกร ทรงเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของคนไทยทั้งชาติ การสูญเสียในครั้งนี้จึงนับเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงของประชาชนชาวไทย พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายในการส่งเสริมมิตรภาพระหว่างไทยกับจีน และทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากิจการด้านความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอย่างที่ยากจะหาใครเสมอเหมือนได้"[22]
  •  อินเดีย : ประธานาธิบดีประณับ มุกเคอร์จี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประเทศไทยและประชาคมโลก ได้สูญเสียผู้นำผู้ทรงไหวพริบและทุ่มเทอุทิศพระวรกาย ประเทศอินเดียได้สูญเสียเพื่อนอันเป็นที่รัก และจะสรรเสริญพระราชกรณียกิจของพระองค์ในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศตลอดไป"[23] นายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมที ทวิตข้อความแสดงความเสียใจว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นที่เคารพอย่างที่สุดของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีอย่างที่สุดมายังพระบรมวงศานุวงศ์ และชาวไทย ประชาชนชาวอินเดียและข้าพเจ้าขอร่วมไว้อาลัยต่อการสูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้นำสูงสุดในช่วงเวลาของเรา" และยังได้กล่าวต่อว่า "ขอร่วมส่งใจไปยังพระราชวงศ์จักรีของไทยที่อยู่ในความทุกข์ในขณะนี้"[24]
  •  อิหร่าน : ประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ความว่า "ในนามของข้าพเจ้า รัฐบาล และประชาชนแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ขอแสดงความเสียใจต่อพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาล และปวงชนชาวไทย ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" และกล่าวว่าพระองค์ "ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และมีความปราดเปรื่อง"[25][26]
  •  อิสราเอล : ประธานาธิบดีอิสราเอลส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์[27]
  •  ญี่ปุ่น : สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะทรงไว้ทุกข์ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นเวลา 3 วัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชเลขาธิการเป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญพระราชสาส์น และลงนามแสดงความอาลัย ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว[28] นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความว่า "ในนามรัฐบาลญี่ปุ่นและประชาชน ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ผมจะจดจำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในฐานะที่เป็นผู้มีพระปรีชาสามารถสูงส่งและทรงมีพระราชจริยวัตรงดงาม” และกล่าวยกย่องว่า "พระองค์เป็นผู้ที่มีความปรีชาสามารถในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมจิตใจปวงชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิอดุลยเดชทรงช่วยนำการพัฒนาและการยกระดับความเป็นอยู่ของชีวิตประชาชนไทยให้ดีขึ้น"[24] นอกจากนี้ในวันที่ 20 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพปีที่ 82 ของสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ยังได้ทรงตอบจดหมายคำถามแก่สมาคมผู้สื่อข่าวประจำสำนักพระราชวังญี่ปุ่นใจความตอนหนึ่งว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแห่งประเทศไทยเปรียบเสมือนพี่ชายผู้แสนดี" ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ในวันที่ 5 มีนาคม - 6 มีนาคม สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และ สมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ หลังจากทรงปฏิบัติพระราชกรณียากิจที่ประเทศลาว ทั้ง 2 พระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเยือน ราชอาณาจักรไทย เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อถวายสักการพพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[29]
  •  คาซัคสถาน : ประธานาธิบดีนูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงสถิตย์อยู่ในความทรงจำของชาวคาซัคสถานตลอดไป ในฐานะผู้นำผู้ทรงมีวิสัยทัศน์และมีพระราชจริยวัตรอันโดดเด่น ที่ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้น"[31]
  •  เกาหลีใต้ : ประธานาธิบดีพัก กึน-ฮเย ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทยโดยกล่าว "แสดงความเสียใจอย่างที่สุดต่อพระราชวงศ์ และประชาชนชาวไทยต่อการจากไปของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นบิดาและผู้นำทางจิตใจของไทย ทรงทำให้ประชาชนชาวไทยมีความเป็นหนึ่งเดียว และสร้างความทันสมัยให้กับไทย ความเป็นผู้นำของพระองค์ท่านจะสถิตและเป็นที่รักและเคารพยิ่งของประชาชนชาวไทย"[32]
  •  คูเวต : สมเด็จพระราชาธิบดีเศาะบาห์ อัลอะห์มัด อัลญาบิร อัศเศาะบาห์ ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เช่นเดียวกับมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งคู่เวต รวมทั้งประธานสภาแห่งชาติ[33]
  •  คีร์กีซสถาน : ประธานาธิบดีอัลมัซเบค อาตัมบาเยฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยกล่าวยกย่องพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และขอร่วมแสดงความอาลัยอย่างจริงใจในช่วงเวลาอันยากลำบากของประเทศไทย[34]
  •  มัลดีฟส์ : ประธานาธิบดีอับดุลลาห์ ยามีน ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจเป็นอย่างมากเมื่อทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในปัจจุบัน การอุทิศพระองค์เพื่อความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ยากไร้ในชนบทจะถูกจดจำตลอดไป"[35] และได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นผู้แทนพิเศษเดินทางมาถวายความเคารพพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[36]
  •  มองโกเลีย : ประธานาธิบดีซาคีอากีอิน เอลเบกดอร์ช ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงประทับอยู่ในความทรงจำและในจิตใจของเรา ในฐานะที่ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของคนในชาติ ผู้ทรงอุทิศชีวิตและจิตวิญญาณของพระองค์เพื่อการพัฒนาประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน"[37]
  •  เนปาล : ประธานาธิบดีพิทยา ภัณทารี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยกล่าวแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการสวรรคตของพระมหากษัตริย์ไทยอันเป็นที่เคารพรักยิ่ง ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีเนปาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเนปาลได้ทรงสาส์นแสดงความเสียใจมายังประเทศไทยเช่นกัน[38]
  •  ปากีสถาน : นายกรัฐมนตรีนาวาซ ชาริฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความว่า "ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ต่อการสูญเสียผู้นำอันเป็นที่รักและเคารพมากที่สุด การเสด็จฯ เยือนปากีสถานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในปี พ.ศ. 2505 ยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำในฐานะก้าวย่างสำคัญของความสัมพันธ์ไทย-ปากีสถาน ประชาชนและรัฐบาลปากีสถานยังคงรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระราชทานความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอาซาดจัมมูและแคชเมียร์ในปี พ.ศ. 2548 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงนำสิ่งของบรรเทาทุกข์มายังปากีสถานด้วยพระองค์เอง"[40][32]
  •  กาตาร์ : สมเด็จพระราชาธิบดีตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ รองเจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ และนายกรัฐมนตรีกาตาร์ ส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[41]
  •  ซาอุดีอาระเบีย : สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดัลอะซิซ อาล สะอูด ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารความว่า "ข้าพเจ้ารับทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ข้าพเจ้าในนามของรัฐบาลซาอุดีอาระบียและประชาชน ขอแสดงความเสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้งต่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร พระบรมวงศานุวงศ์ และรัฐบาลไทย ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่อการสูญเสียอันใหญ่หลวงในครั้งนี้" เช่นเดียวกับมกุฎราชกุมาร และรองมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย[42]
  •  ศรีลังกา : ประธานาธิบดีไมตรีพาลา สิริเสนา และนายกรัฐมนตรีศรีลังกา เดินทางไปลงนามแสดงความอาลัย ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำศรีลังกา โดยประธานาธิบดีได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ได้ทรงกระชับความสัมพันธ์ระหว่างศรีลังกากับไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในขณะที่นายกรัฐมนตรีศรีลังกาลงนามตอนหนึ่งว่า "ไม่อาจลืมพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ได้ทรงทำให้ประเทศไทย และประชาชนชาวไทยพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว"[43]
  •  ไต้หวัน : ประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ได้เดินทางไปลงนามแสดงความอาลัย ณ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ในกรุงไทเป โดยกล่าวว่า "ในนามของประชาชนสาธารณรัฐจีน ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนคนไทยทุกคนสำหรับการสูญเสียกษัตริย์ที่ดีที่สุด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"[44]
  •  ฮ่องกง : ผู้ช่วยหัวหน้าผู้บริหารเกาะฮ่องกง แคร์รี่ แลม กล่าวแสดงความเสียใจต่อกรณีเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวฮ่องกง ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง โดยประชาชนชาวฮ่องกงจะร่วมไว้อาลัยต่อการสูญเสียครั้งนี้เช่นกัน[45]
  •  มาเก๊า : ผู้ช่วยหัวหน้าผู้บริหาร เพอร์ นันโค ความเสียใจเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระบาทเจ้าอยู่ในพระโกศของรัฐบาลและประชาชนชาวมาเก๊า ขอแสดงความเสียใจ ตลอดไป
  •  ติมอร์-เลสเต : รัฐบาลติมอร์-เลสเตส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประเทศไทย[46]
  •  เติร์กเมนิสถาน : ประธานาธิบดีกูร์บันกูลืย เบียร์ดีมูฮาเมดอฟ ส่งสาสน์แสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย ในนามของประชาชนชาวเติร์กเมนิสถาน และในนามส่วนตัว โดยกล่าวแสดงความเสียใจอยากสุดซึ้ง และเป็นกำลังใจให้พระญาติและพระสหายของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลอดจนประชาชนชาวไทย[47]
  •  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ : ประธานาธิบดีเคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน นายกรัฐมนตรีมุฮัมมัด บิน รอชิด อัลมักตูม และมกุฎราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบี ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยความว่า "ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรียูเออี รวมทั้งมกุฏราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบี ขอแสดงความอาลัยต่อข่าวการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และขอแสดงความเสียใจและความเห็นใจอย่างจริงใจต่อรัฐบาลและประชาชนชาวไทยในนามของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่อการสูญเสีย และขอแสดงความเสียใจเป็นการส่วนพระองค์ต่อพระราชวงศ์ และขอให้ประเทศไทยประสบความเจริญรุ่งเรืองและมีเสถียรภาพสืบไป"[32]
  •  อุซเบกิสถาน : รักษาการประธานาธิบดีชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยกล่าวแสดงความอาลัยต่อการสูญเสียรัฐบุรุษผู้ทรงคุณอันโดดเด่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[48]

อาเซียน

  •  บรูไน : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีความตอนหนึ่งว่า "การเสียสละและความรักอย่างไร้ขีดจำกัดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชต่อปวงประชาไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ตราตรึงในจิตใจของประชาชนชาวไทย แต่ยังได้รับการเคารพยกย่องไปทั่วโลก ตลอดช่วง 70 ปีในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว พระบิดาของชาวไทยจะไม่เพียงแต่อยู่ในหัวใจของผู้ที่ใกล้ชิดกับพระองค์เท่านั้น แต่จะทรงอยู่ในใจของผู้คนที่พระองค์ทรงได้เปลี่ยนแปลง" และทรงมีพระราชสาส์นมายังนายกรัฐมนตรี ความตอนหนึ่งว่า "การอุทิศตนเพื่อปวงประชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพสกนิกรจะเป็นที่จดจำตลอดไป"[49][50]
  •  กัมพูชา : สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรี โดยกล่าวว่า "การสวรรคตนี้ถือเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทย พสกนิกรไทย มิตรของไทยทั่วโลก รัฐบาลและประชาชนกัมพูชาขอน้อมถวายและขอส่งความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังสมเด็จพระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาลและประชาชนไทย" ด้านพระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมารดาแห่งกัมพูชา (พระมารดาในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม มีข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย ไปยังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ความว่า...

“ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมราชชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นการสูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งและศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติในสถานการณ์ที่เจ็บปวดและเศร้าโศกนี้ ข้าพเจ้าขอร่วมถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งขอแสดงความเสียใจไปยังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถด้วย รวมทั้งพระราชวงศ์ไทยทั้งมวล – พระนามาภิไธย มุนีนาถ สีหนุ.”รวมทั้งสมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมีแห่งกัมพูชา พระขนิษฐา (น้องสาว) ในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี เสด็จไปทรงถวายสักการะและทรงลงพระนามถวายความอาลัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา.[32][51]

  •  อินโดนีเซีย : ประธานาธิบดีโจโก วีโดโด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจ โดยกล่าวว่า "โลกได้สูญเสียผู้นำที่ใกล้ชิดกับประชาชน เป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาเซียนและของโลก"[52][53]
  •  ลาว : บุนยัง วอละจิด ประธานประเทศลาว ส่งสาส์นแสดงความเสียใจไปยังสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยมีความตอนหนึ่งว่า "พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมและเสียสละอย่างใหญ่หลวง ทรงมีบทบาทอย่างสำคัญในการปรับปรุงและกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรและความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกับราชอาณาจักรไทย การสวรรคตจึงเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงของชาวไทยและเป็นการสูญเสียมิตรของชาวลาว" ในขณะที่นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิด ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีไทย[54]
  •  มาเลเซีย : สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ทรงส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย[55] เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ที่ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมีความตอนหนึ่งว่า "พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่สูงส่ง การอุทิศพระองค์เพื่อประเทศไทยและภูมิภาคนั้นมากเกินกว่าคำบรรยายใด"[56]
  •  พม่า : ประธานาธิบดีทีนจอ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีไทย[57] ในขณะที่ ออง ซาน ซูจี ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และกล่าวแสดงความเสียใจระหว่างการประชุมบิมสเทกที่ประเทศอินเดีย[58]
  •  ฟิลิปปินส์ : ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ส่งสาส์นแสดงความเสียใจความตอนหนึ่งว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ไม่เพียงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชยาวนานที่สุดในโลก แต่ยังเป็นผู้นำทางประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย"[59]
  •  สิงคโปร์ : นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง กล่าวแสดงความเสียใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก อีกทั้งยังทรงเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทยทุกคน เพราะพระองค์ทรงอุทิศตนเพื่อประชาชนของพระองค์ และเพื่อประเทศชาติ เพราะพระองค์ต้องการให้ประชาชนในประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดี พระองค์ทรงใช้ความสามารถที่มีและพระราชอำนาจเพื่อปกครองประเทศให้เป็นปึกแผ่น"[60]
  •  เวียดนาม : ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ตลอดจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ส่งสาส์นแสดงความเสียใจถึงพระบรมวงศานุวงศ์ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย โดยมีใจความว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ 70 ปี โดยพระองค์ทรงเสียสละเพื่อให้ประชาชนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งการเสด็จสวรรคตของพระองค์เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของพระบรมวงศานุวงศ์ ประชาชนอาเซียนและปวงชนชาวไทย เวียดนามตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องจากทรงมีส่วนร่วมกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยในหลายปีที่ผ่านมาและหวังว่า ประเทศไทยจะฟันฝ่าความสูญเสียครั้งนี้ไปได้และพัฒนาก้าวรุดหน้าต่อไปตามความปรารถนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช"[61]

แอฟริกา

  •  ไลบีเรีย : ประธานาธิบดีเอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังรัฐบาลแห่งประชาชนชาวไทย ความว่า "พวกเราต่างทราบว่านี่คือเหตุการณ์ที่สะเทือนใจและความโศกเศร้าอันใหญ่หลวงจากการสูญเสียพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย[62]
  •  ไนจีเรีย : [63]
  •  แอฟริกาใต้ : [64]
  •  เลโซโท  : 2 พฤศจิกายน 2559 เวลา 10.05 น. – สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท เสด็จพระราชดำเนินไปในการทรงเคารพพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง – สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซี่ที่ 3 เคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมพระราชพิธีเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2549

ออสเตรเลีย

  •  ออสเตรเลีย : นายกรัฐมนตรีแมลคัม เทิร์นบุลล์ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประชาชนชาวไทย ความว่า "ในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวออสเตรเลีย ข้าพเจ้าขอถวายความอาลัยแด่พระราชวงศ์ของไทยและร่วมแสดงความเสียใจกับประชาชนชาวไทยในช่วงเวลาที่โศกเศร้านี้ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของทวีปเอเชีย ในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยได้เติบโตจากประชากร 20 ล้านคน เป็นกว่า 67 ล้านคนในปัจจุบัน และมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยอดเยี่ยม ประชาชนชาวไทยในออสเตรเลียซึ่งมีจำนวนประมาณ 50,000 คน จะร่วมถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วยเช่นเดียวกัน"[13]
  •  นิวซีแลนด์ : นายกรัฐมนตรีจอห์น คีย์ ส่งสาส์นแสดงความเสียใจมายังประชาชนไทยโดยกล่าวว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัตินานที่สุดในโลก และได้ทรงพัฒนาประเทศจนเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ทำให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศสำคัญของภูมิภาคนี้ และเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจสำคัญชาติหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่พระองค์ครองราชย์ นิวซีแลนด์และไทยได้พัฒนาความสัมพันธ์จนกลายเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด ซึ่งต่างปรารถนาให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคนี้" และยังขอร่วมแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวไทยในครั้งนี้ด้วย [13]

ใกล้เคียง

ปฏิกิริยาต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566 ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ปฏิกิริยามายาร์ ปฏิกิริยาฟอสฟอรีเลชัน ปฏิกิริยารีดอกซ์ ปฏิกิริยาสะเทิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช https://www.facebook.com/Embassy-of-Mongolia-in-Ba... http://www.bruneitimes.com.bn/frontpage-news-natio... http://www.thairath.co.th/content/753762 http://www.khmertimeskh.com/news/30831/hun-sen-sen... http://www.thejakartapost.com/news/2016/10/13/joko... http://www.thairath.co.th/content/754096 http://www.manager.co.th/UpToDate/ViewNews.aspx?Ne... http://www.komchadluek.net/news/foreign/246174 http://www.thestar.com.my/news/nation/2016/10/13/n... http://www.bangkokpost.com/news/general/1109909/co...