ปฏิกิริยาสะเทิน
ปฏิกิริยาสะเทิน

ปฏิกิริยาสะเทิน

ในทางเคมี ปฏิกิริยาสะเทิน (อังกฤษ: neutralization หรือ neutralisation) หรือ ปฏิกิริยาการสะเทิน หรือ ปฏิกิริยาลบล้างฤทธิ์ ก็เรียก เป็นปฏิกิริยาเคมี ซึ่งกรดและเบสทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นเกลือ บ่อยครั้งที่เกิดน้ำเป็นผลิตภัณฑ์ด้วย แต่ไม่จำเป็นเสมอไป ปฏิกิริยาสะเทินระหว่างกรดและเบสอาร์เรเนียส จะให้น้ำด้วยเสมอ ดังสมการเมื่อ Y และ X เป็นไอออนบวกและไอออนลบที่มีค่าประจุเป็น +1 และ -1 ตามลำดับ XY จะเป็นเกลือที่เกิดขึ้น ตัวอย่างปฏิกิริยารูปนี้ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก โดยมีโซเดียมเป็น Y และคลอรีนเป็น X ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยาข้างต้น คือ น้ำและเกลือแกงสามัญปฏิกิริยาสะเทินสามารถพิจารณาได้เป็นสมการไอออนสุทธิ เช่นการแสดงนี้คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดี เพราะไฮโดรเจนไอออน (H+) แท้จริงแล้วมิได้เกิดขึ้นในสารละลายระหว่างปฏิกิริยาสะเทิน ที่จริงแล้ว ไฮโดรเนียมไออน (H3O+) ต่างหากที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลตามสมการด้านล่างเมื่อพิจารณาไฮโดรเนียมไออน สมการไอออนสุทธิแท้จริงจะเป็นในปฏิกิริยาไม่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย (non-aqueous) มีความเป็นไปได้น้อยว่าจะเกิดน้ำขึ้น อย่างไรก็ดี กรดกับเบสจะมีการให้โปรตอนเสมอ (ตามทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด-บาวรี) เนื่องจากมีนิยามกรดและเบสหลายอย่าง ปฏิกิริยาทั้งหลายจึงอาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาการสะเทินได้ ซึ่งทั้งหมดด้านล่างนี้อาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาสะเทินได้ตามนิยามแตกต่างกัน บ่อยครั้ง ปฏิกิริยาสะเทินเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก ตัวอย่างของการสะเทินแบบดูดความร้อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไบคาร์บอเนต (โซดาทำขนม) กับกรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู)การสะเทินหมายถึงการทำให้เป็นกลาง ในทางเคมี "เป็นกลาง" หมายถึง pH เท่ากับ 7

ใกล้เคียง

ปฏิกิริยาต่อการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ปฏิกิริยาต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อสงครามอิสราเอล–ฮะมาส พ.ศ. 2566 ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ปฏิกิริยาฟอสฟอรีเลชัน ปฏิกิริยามายาร์ ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส ปฏิกิริยารีดอกซ์