ปฏิทรรศน์ของอ็อลเบิร์ส
ปฏิทรรศน์ของอ็อลเบิร์ส

ปฏิทรรศน์ของอ็อลเบิร์ส

ปฏิทรรศน์ของอ็อลเบิร์ส หรือ ปฏิทรรศน์ว่าด้วยความมืดของท้องฟ้าเวลากลางคืน เป็นแนวคิดทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ตั้งชื่อตามไฮน์ริช วิลเฮ็ล์ม อ็อลเบิร์ส นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า หากการอนุมานที่ว่าเอกภพมีขนาดกว้างไกลไม่สิ้นสุด มีจำนวนดาวเป็นอนันต์กระจายสม่ำเสมอ และอยู่ในสภาวะสถิต ท้องฟ้าเวลากลางคืนก็ไม่ควรจะมืดมิดเช่นที่ปรากฎ จึงถือเป็นหลักฐานหนึ่งที่สนับสนุนว่าเอกภพนั้นไม่ได้อยู่ในสภาวะสถิต เช่น มีจุดกำเนิดและกำลังเปลี่ยนแปลง เช่นที่บรรยายไว้ในแบบจำลองแบบบิกแบงในกรณีที่เอกภพมีขนาดกว้างไกลไม่สิ้นสุด มีจำนวนดาวเป็นอนันต์ กระจายสม่ำเสมอ และอยู่ในสภาวะสถิต เส้นสายตาใดๆ ที่มองออกจากโลกย่อมต้องสิ้นสุดที่ดาวฤกษ์ดวงใดดวงหนึ่งเสมอ ดังนั้นท้องฟ้าเวลากลางคืนก็ควรจะสว่างไปทั่วด้วยแสงดาวฤกษ์ที่มีจำนวนอนันต์

ใกล้เคียง

ปฏิทรรศน์ของแฟร์มี ปฏิทรรศน์ฝาแฝด ปฏิทรรศน์อีกา ปฏิทรรศน์ ปฏิทรรศน์ของอ็อลเบิร์ส ปฏิทรรศน์ของรัสเซิลล์ ปฏิทรรศน์แนวชายฝั่ง ปฏิทินจีน ปฏิทินฮิจเราะห์ ปฏิทินสุริยคติไทย