ประทุษวาจา
ประทุษวาจา

ประทุษวาจา

ประทุษวาจา (อังกฤษ: hate speech) คือ ถ้อยคำโจมตีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือรสนิยมทางเพศ เป็นต้น[1][2]กฎหมายในบางประเทศระบุว่า ประทุษวาจา หมายถึง ถ้อยคำ ท่วงทีหรือพฤติกรรม ลายลักษณ์อักษร หรือการแสดงออกอย่างใด ๆ ซึ่งต้องห้าม เพราะอาจยั่วยุให้เกิดความรุนแรง การต่อต้าน หรือการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองไว้[3][4][5][6] ในบางประเทศ ผู้เสียหายจากประทุษวาจาสามารถร้องขอการเยียวยาตามกฎหมายได้เว็บไซต์ที่ใช้ประทุษวาจานั้นเรียก "เฮตไซต์" (hate site) ส่วนใหญ่มีลานประชาคมอินเทอร์เน็ต (internet forum) และย่อข่าวซึ่งนำเสนอแนวคิดบางแนวโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ยังมีการถกเถียงกันว่า บนโลกอินเทอร์เน็ตควรมีเสรีภาพในการพูดด้วยหรือไม่ การประชุมอภิปรายข้อถกเถียงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees) อย่างต่อเนื่อง[7]อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) ข้อ 4 ประณามและให้รัฐภาคีตรากฎหมายลงโทษ "ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหนือกว่าทางเชื้อชาติ หรือความเกลียดชังอันเกิดจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ การช่วยกระตุ้นให้เกิดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการกระทำรุนแรงหรือกระตุ้นให้เกิดการกระทำรุนแรงนั้นต่อชนเชื้อชาติหนึ่งเชื้อชาติใด หรือกลุ่มบุคคลที่มีสีผิวอื่นหรือเผ่าพันธุ์กำเนิดอื่น ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินต่อกิจกรรมชาตินิยม"[8] ขณะที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ข้อ 20 ว่า "การสนับสนุนให้เกิดความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเป็นปฏิปักษ์ หรือการใช้ความรุนแรง เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย"[9] อย่างไรก็ดี วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ไมเคิล โอฟลาเฮอร์ตี (Michael O'Flaherty) พร้อมด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Committee) ออกอรรถกถาสามัญ (general comment) ฉบับที่ 34 ว่า ประทุษวาจาไม่เข้าข่ายรุนแรงถึงขนาดต้องห้ามตามข้อ 20 ดังกล่าว[10]ในประเทศไทย ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำว่า "ประทุษวาจา" ขึ้นเมื่อต้น พ.ศ. 2557[11] และเคยมีแนวคิดจะบรรจุบทบัญญัติเกี่ยวกับประทุษวาจาไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แต่ถูกตัดออกในชั้นพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประทุษวาจา http://www.unhchr.ch/huridocda/huridoca.nsf/AllSym... http://www.blackwellreference.com/public/tocnode?i... http://dictionary.reference.com/browse/hate+speech http://definitions.uslegal.com/h/hate-speech/ //doi.org/10.1111%2Fb.9781405131995.2008.x http://southernlibrarianship.icaap.org/content/v09... http://www2.ohchr.org/english/bodies/hrc/docs/GC34... http://www.legislation.gov.uk/ukpga/2003/44/sectio... https://www.tcijthai.com/news/2015/11/archived/538...