ประภาคารสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา

ประภาคารสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา เป็นประภาคารแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ควบคุมการก่อสร้างโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปิดให้ใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2417 ใช้มาจนถึงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2472 รวมระยะเวลา 55 ปี 22 วันในสมัยรัชกาลที่ 5 ปากแม่น้ำเจ้าพระยามีเรือเข้าออกจำนวนมาก อันเป็นผลมาจากการค้าขายกับต่างชาติที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวในการก่อสร้าง ซึ่งราชกิจจานุเบกษา เล่ม 1 กล่าวว่า ค่าก่อสร้างเป็นเงิน 225 ชั่ง 5 ตำลึง 5 สลึง (18,021.25 บาท) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้ส่งพระสยามธุรพาห์ กุงสุลไทย ณ กรุงลอนดอน เป็นผู้ซื้อเรือนตะเกียงมายังสยามระหว่างการก่อสร้างประภาคารได้เกิดทรุดตัวลง ทำให้ก่อสร้างช้ากว่ากำหนด หลังจากแก้ไขใหม่จนก่อสร้างเสร็จแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้ยกให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ภาษาอังกฤษเรียกประภาคารแห่งนี้ว่า "รีเยนท์ไลท์เฮาส์" (Regent Lighthouse; ประภาคารผู้สำเร็จราชการ) หลักฐานของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เรียก "ประภาคารสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา" คนทั่วไปเรียก "กระโจมไฟสันดอน"

ใกล้เคียง

ประภาส จารุเสถียร ประภาส ชลศรานนท์ ประภาศรี สุฉันทบุตร ประภาพันธุ์ กรโกสียกาจ ประภาศน์ อวยชัย ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ประภาคาร ประภาคารแหลมสิงห์ ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย ประภาคารสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา