รูปแบบ ของ ประมุขแห่งรัฐ

แต่ละประเทศมีรูปแบบของประมุขแห่งรัฐที่แตกต่างกัน ขึ้นกับรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศได้ระบุไว้ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

ระบอบรัฐสภา

ดูบทความหลักที่: ระบบรัฐสภา
แผนที่ความแตกต่างของระบบรัฐสภา
  สาธารณรัฐระบบรัฐสภา ประธานาธิบดีที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง
  สาธารณรัฐระบบรัฐสภา โดยฝ่ายบริหารประธานาธิบดีขึ้นอยู่กับสภานิติบัญญัติ
  ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง

ระบอบรัฐสภามีความแตกต่างในรายละเอียดตามแต่ละประเทศ ในบางประเทศ ประมุขแห่งรัฐสามารถให้คำแนะนำ ให้กับคณะรัฐบาลได้โดยไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ

ประธานาธิบดีที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง

ดูบทความหลักที่: สาธารณรัฐระบบรัฐสภา

ประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจในการปกครองต่อรัฐบาล เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางการเมือง และศูนย์รวมจิตใจของประชาชน มีบทบาทในทางพิธีการเท่านั้น ส่วนนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการปกครองประเทศ

ประเทศที่ใช้ระบอบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น

พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง

ตามระบอบรัฐสภา พระมหากษัตริย์อาจมีบทบาทเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศเฉพาะในนาม เช่น รัฐบาลของสหราชอาณาจักร ถูกเรียกว่าเป็นรัฐบาลของสมเด็จพระราชินี ไม่ใช่รัฐสภา ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้ใช้อำนาจเหล่านั้นคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของสภานิติบัญญัติ แทนที่จะเป็นประมุขแห่งรัฐ

ประเทศที่ใช้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ ไทย สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น

ระบอบกึ่งประธานาธิบดี

ดูบทความหลักที่: ระบบกึ่งประธานาธิบดี

ระบอบกึ่งประธานาธิบดีเป็นการผสมผสานระหว่างระบอบประธานาธิบดีกับระบอบรัฐสภาเข้าด้วยกัน รัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของทั้งประธานาธิบดีและสภานิติบัญญัติ ตัวอย่างเช่น ฝรั่งเศส (ในยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ประธานาธิบดีมีสิทธิ์แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี แต่นายกรัฐมนตรีเองต้องได้รับเสียงข้างมากจากสภานิติบัญญัติด้วยเช่นกัน

ประเทศที่ใช้ระบอบระบอบกึ่งประธานาธิบดีได้แก่ ฝรั่งเศส รัสเซีย อียิปต์ มองโกเลีย ศรีลังกา โรมาเนีย ยูเครน โปรตุเกส แอลจีเรีย เป็นต้น

  • ชาร์ล เดอ โกล เป็นประธานาธิบดีและประมุขแห่งรัฐของฝรั่งเศสในระหว่างปี 1959 ถึง 1969

ระบอบประธานาธิบดี

ดูบทความหลักที่: ระบบประธานาธิบดี

ระบอบประธานาธิบดีคือระบอบที่ตั้งให้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดอย่างเต็มที่ คณะรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ เช่น สหรัฐ ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะรัฐบาล ในรัฐธรรมนูญของบางประเทศอาจให้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปกับประธานาธิบดีได้ แต่ส่วนมากนายกรัฐมนตรีในระบอบประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจเท่ากับในระบอบรัฐสภา

ประเทศที่ใช้ระบอบประธานาธิบดีได้แก่ สหรัฐ บราซิล เม็กซิโก เกาหลีใต้ ตุรกี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อาร์เจนตินา อิหร่าน ซูดาน เป็นต้น

รัฐพรรคการเมืองเดียว

ดูบทความหลักที่: รัฐพรรคการเมืองเดียว

ระบอบรัฐพรรคการเมืองเดียว ภายใต้ลัทธิมากซ์ มักใช้โดยรัฐคอมมิวนิสต์ รัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ เช่น จีน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะรัฐบาล โดยเลขาธิการพรรคมีสิทธิแต่งตั้งทั้งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี

ประเทศที่ใช้ระบอบรัฐพรรคการเมืองเดียว (คอมมิวนิสต์) ได้แก่ จีน คิวบา เวียดนาม ลาว เป็นต้น

  • หู จิ่นเทา เป็นประธานาธิบดีและประมุขแห่งรัฐของจีนในระหว่างปี 2003 ถึง 2013

ใกล้เคียง

ประมุขแห่งรัฐ ประมุขแห่งรัฐซามัว ประมุขพิสิฐ อัจฉริยะฉาย ประมุขในนาม ประมุท บุรณศิริ ประมุขของปรัสเซีย ประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต ประมุขแห่งรัฐซานมารีโน ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา ประมุขมิสซัง