ประวัติ ของ ประมุขแห่งรัฐซามัว

เมื่อซามัวได้รับเอกราชในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1962 สอง[4]ในสี่ประมุขสูงสุด (ตามาอาอาอีงา) ได้แก่มาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2 และตูปัว ตามาเซเซ เมอาโอเล ซึ่งมาจากราชวงศ์มาลีเอตัวและตูปัว ตามาเซเซตามลำดับ โดยทั้งสองพระองค์ได้รับตำแหน่งประมุขแห่งรัฐตลอดชีพตามความรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1960[5] ทั้งสองพระองค์เป็นที่รู้จักในฐานะ โออาโอโอเลมาโล และโดยส่วนพระองค์ในฐานะ โอเลอาโอโอเลมาโล[3] เมอาโอเลสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1963 ทำให้ตำแหน่งนี้ถูกครองโดยตานุมาฟิลิที่ 2 ตราบจนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ในตำแหน่งเมื่อ ค.ศ. 2007 พระชนมายุ 94 พรรษา[6][7] ผู้ดำรงตำแหน่งต่อมาได้แก่ตูปัว ตามาเซเซ เอฟี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของตูปัว ตามาเซเซ เมอาโอเล พระองค์ได้รับเลือกจากรัฐสภาซามัวโดยมีวาระ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2007[8] และอีกวาระหนึ่งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 เป็นเวลา 5 ปี ประมุขแห่งรัฐพระองค์ที่ 4 และองค์ปัจจุบันได้แแก่ ตูอิมาเลอาลีอีฟาโน วาอาเลโตอา เอตี ซูอาลาอูวีที่ 2 เหลนของผู้นำขบวนการเมาคือตูอิมาเลอาลีอีฟาโน ฟาอาโอโลอีอี และหลานชายของตูอิมาเลอาลีอีฟาโน ซูอาตีปาตีปาที่ 2 ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งคณะผู้รักษาการแทนชุดแรก[9] โดยได้รับเลือกจากรัฐสภาซามัวในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2017 ให้ดำรงตำแหน่งต่อจากตูฟูงา เอฟี ในช่วงที่วาระของตูฟูงา เอฟีกำลังหมดลง

ใกล้เคียง

ประมุขแห่งรัฐ ประมุขแห่งรัฐซามัว ประมุขพิสิฐ อัจฉริยะฉาย ประมุขในนาม ประมุท บุรณศิริ ประมุขของปรัสเซีย ประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต ประมุขแห่งรัฐซานมารีโน ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา ประมุขมิสซัง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประมุขแห่งรัฐซามัว http://www.smh.com.au/news/World/Samoan-king-dies-... http://members.iinet.net.au/~royalty/states/oceani... http://www.ediplomat.com/np/post_reports/pr_ws.htm http://www.rnzi.com/pages/news.php?op=read&id=6969... http://www.samoaplanet.com/new-head-state-sworn-in... http://www.nzherald.co.nz/section/2/story.cfm?c_id... http://www.nzherald.co.nz/world/news/article.cfm?c... http://www.paclii.org/ws/legis/consol_act/cotisows... http://www.sobserver.ws/en/18_02_2019/local/41284/... https://www.abc.net.au/radio-australia/programs/pa...