เศรษฐกิจ ของ ประเทศกินี

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้


เศรษฐกิจและสังคม กินีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ ธาตุ โดยเฉพาะบอกไซต์ ซึ่งมีปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของโลก และเป็นผู้ผลิตแร่บอกไซต์รายใหญ่เป็น อันดับ 6 ของโลก นอกจากนี้ ยังมีทองคำและเพชรและแร่ธาตุอื่นๆ นับแต่ปี 2547 ความต้องการแร่ธาตุและราคาซื้อขายในตลาดโลกได้ส่งผลให้กินีมี การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และภาคเหมืองแร่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออก

ภาคเกษตรกรรมยังคงเป็นหัวใจหลักของกินี โดยประชากรกว่าร้อยละ 70 ของประเทศอยู่ในภาคเกษตรกรรม สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว และข้าวโพด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลิตผลทางด้านเกษตรกรรมยังคงมีมูลค่าเพียงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และคิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าการส่งออก

แม้ว่ากินีจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม กินียังคงประสบปัญหา การพัฒนาทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากความไม่มั่นคงทางการเมือง การคอรัปชั่นที่มีอยู่สูง ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน การขาดแรงงานมีฝีมือ ประกอบกับสถานการณ์การสู้รบในกินีบิสเซา เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย ซึ่งส่งผลให้มีการอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในกินี ทั้งนี้ กินียังถูกจัดไว้เป็นลำดับที่ 9 ในตารางประเทศล้มเหลว (failed states)

อย่างไรก็ตาม กีนีเริ่มพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์กับภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) เพื่อ รื้อฟื้นโครงการพัฒนาและความช่วยเหลือเพื่อการปลดหนี้ที่เคยถูกยกเลิกไป ตั้งแต่ปี 2546

สหประชาชาติจัดให้กินีอยู่ในอันดับที่ 160 จาก 177 ประเทศ ที่มีดัชนีการพัฒนาคน (Human development index-HDI) ต่ำที่สุด ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นมาตรฐานสุขภาพที่ย่ำแย่ของชาวกินีและสาธารณูปโภค ที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มแรงงานเหมืองแร่

ภายหลังการยึดอำนาจ ร้อยเอก Camara ได้ประกาศระงับการผลิต และส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะบ๊อกไซด์ ทองและเพชร ซึ่งจะได้มีการเจรจากับบริษัทที่รับสัมปทานเพื่อให้กินีได้รับผลประโยชน์ตอบ แทนมากที่สุด

นโยบายต่างประเทศ ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี Conte กินีเอนเอียงเข้าหาตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศสและ EU ซึ่งปัจจุบันมีความสำคัญต่อกินีทั้งในด้านการค้าและการให้ความช่วยเหลือ ความสัมพันธ์ระหว่างกินีและประเทศเพื่อนบ้านไม่ค่อยราบรื่น เนื่องจากรัฐบาลกินีมักเข้าแทรกแซงกิจการภายในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไลบีเรียและเซียร์ราลีโอนได้พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องมาจากการคลี่คลายของปัญหาทางการเมืองของทั้งสองประเทศ

กินีและแอฟริกาใต้มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น หลังจากการเยือนกินีของประธานาธิบดี Thabo Mbeki ในเดือนกรกฎาคม 2548 โดยแอฟริกาใต้ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงโคนักรีของกินี รวมทั้ง บริษัทเพชร De Beers ได้เข้าไปดำเนินกิจการในกินีอีกครั้ง

กินีประสบปัญหาการอพยพเข้ามาของประเทศเพื่อนบ้าน นับแต่ปี 2543 มีจำนวนผู้อพยพจากเซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย กินีบิสเซา เข้ามาในกินีประมาณ 750,000 คน โดยกินีได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เข้ามาแก้ปัญหานี้ ในปัจจุบัน กินียังมีผู้อพยพอยู่ประมาณ 39,000 คน

ประชาคมระหว่างประเทศได้ออกมาประณามการยึดอำนาจของร้อยเอก Camara และเรียกร้องให้มีการคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดี Abdoulaye Wade แห่งเซเนกัลได้แถลงที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ว่าทุกฝ่ายควรให้การสนับสนุนร้อยเอก Camara โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านไม่ควรแทรกแซงกิจการภายในของกินี แต่ควรให้เวลากินีผลัดเปลี่ยนอำนาจอย่างสันติ ซึ่งคำแถลงดังกล่าวเป็นที่ประหลาดใจของหลายฝ่าย เนื่องจากสวนทางกับการประณามการยึดอำนาจโดยสหภาพยุโรป สหรัฐฯ รวมทั้งสหภาพแอฟริกา ซึ่งได้ประกาศยุติสมาชิกภาพของกินีในสหภาพ แอฟริกาเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ รัฐบาลของร้อยเอก Camara ยังได้รับการสนับสนุนจากนาย Muammar AL Gaddafi ประธานาธิบดีลิเบียซึ่งได้เดินทางเยือนกินีเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2552 อีกด้วย

ใกล้เคียง