เศรษฐกิจ ของ ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา

BBI Center ห้างสรรพสินค้าและศูนย์กลางของธนาคารBBI

เศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ฟื้นตัวจากสงครามต้นศตวรรษที่21 ช่วงราวปี 2000-2005 มีการประกาศสกุลเงิน คอนเวร์ทีบิลนามาร์คา แทน เงิน ดีนาร์ โดยสกุลเงินแปลงค่ามาจาก เงินมาร์คเยอรมัน ภายหลังเยอรมันประกาศใช้เงินยูโร ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นแหล่งอุตสหกรรรมเดิมของอดีตยูโกสลาเวีย มีโรงงานเหล็กกล้า เขือน โรงงานผลิตไฟฟ้า โรงงานผลิตเครื่องบิน ยานเกราะ อาวุธยุทโธปกรณ์ โรงงานผลิตรถยนต์ อลูมีเนียม เฟอร์นิเจอร์ และแหล่งน้ำมันดิบ

ในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การพานิชย์ และ การลงทุนด้านโทรคมนาคมบอสเนียก็เติบโตเร็ว บริษัทBH Telecom กลายเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดในประเทศ และ มีรัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการ โดยส่วนใหญ่ กิจการของบริษัทในภาคอุตสาหกรรม มักจะมีรัฐบาลถือหุ้น หรือ ถือครองในตัวเลขที่สูงกว่า 50-60% หรือ อาจจะเป็นเจ้าของ เช่น บริษัทน้ำมันบอสเนียEnergopetrol,,สายการบินB&H Airlines เป็นต้น สัดส่วนที่รัฐบาลถือครองกำไรของบริษัทเหล่านั้น ทำให้รัฐบาลบอสเนียมีงบประมาณมากพอที่จะฟื้นฟูและบริหารดูแลประเทศ จนทำให้เศรษฐกิจบอสเนียเติบโต อัตราว่างงานลดลงในช่วงทศวรรษที่2010 และ สหภาพยุโรปประกาศให้ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นผู้สมัครสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีศักยภาพ แค่เฉพาะบริษัทเหล็กกล้า Aluminij Mostar ก็สร้างกำไรให้รัฐบาลกลางบอสเนียไปแล้ว 40 ล้านยูโรต่อปีกรุงซาราเยโวเมืองหลวงของประเทศ ยังเป็นที่ตั้งของบริษัทพานิชย์ อย่าง BBI Centar ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลางของคาบสมุทรบอลข่าน โดย BBI Centar เป็นห้างสรรพสินค้าชั้นนำของคาบสมุทรบอลข่านซึ่งมีเจ้าของคือธนาคาร BBI : Bosna Bank International ธนาคารฮาลาลแห่งแรกของทวีปยุโรปนอกจากนี้ยังมีบริษัทข่าวสารชั้นนำอย่าง al-jazeera Balkans,Federalna และ Oslobođenje ตั้งสำนักงานใหญ่ในซาราเยโว

ในด้านเกษตรกรรม ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนามีการผลิต ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารมากมายตั้งแต่ ข้าวสาลี ผลไม้ นมวัว เนื้อวัว ปลา อาหารทะเล และอื่นๆ บอสเนียเป็นแหล่งแปรรูปอาหารชั้นดีในบอลข่านตะวันตก ที่ซึ่งแม้แต่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอย่าง โครเอเชียยังต้องใช้บริการ

ในด้านแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ บอสเนียเป็นแหล่งน้ำมันดิบบนดินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป บนทุ่งน้ำมันที่เรียกว่า ทุ่งน้ำมันซามัช(Šamac oil field) ซึ่งค้นพบในปี 2004 โดยบริษัทน้ำมันรัฐบาล Energopetrol นอกจากนี้ยังเปิดให้บริษัทร่วมรัฐบาลเอกชน Nestro Petrol เข้ามาขุดเจาะน้ำมันในเขตดังกล่าว ประมาณการณ์ว่า แหล่งน้ำมันซามัช มีน้ำมันอยู่ราว 3.6พันล้านบาร์เรล นอกจากนี้บอสเนียยังมีทุ่งน้ำมันอีกแห่งคือทุ่งน้ำมันตุชล่า(Tuzla oil field)ประมาณการณ์ว่ามีน้ำมันดิบราว 300ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามทุ่งน้ำมันดังกล่าวถูกผูกขาดโดย Energopetrol อย่างเดียว และยังไม่ได้มีการขุดเจาะแต่อย่างใด รัฐบาลบอสเนียมีแผนให้แหล่งน้ำมันตุชล่า อยู่ในการศึกษาต่อไป เนื่องจากเป็นแหล่งที่ค้นพบใหม่

ในด้านการผลิตทางทหาร บอสเนีย มีบริษัทรัฐและเอกชนผลิตอาวุธ ตั้งแต่กระสุนปืน ยานเกราะ รถถังM-84 และ ปืนใหญ่ รวมถึงอาวุธและนวัตกรรมอื่นๆ โดยมีบริษัททั้งหมดดังนี้คือ "Zrak" d. d. SarajevoPD "Igman" Konjic,Ginex d.d. Goražde,"Orao" AD Bijeljina,UNIS Promex Sarajevo,BNT Travnik,"Binas" d. d. Bugojno,Fabrika specijalnih vozila,TRZ HadžićiและVitezit

สำหรับการพลังงานไฟฟ้าของบอสเนีย ทั้งหมดของประเทศ พึ่งพาไฟฟ้าของตนเองได้ และมีการขายพลังงานไฟฟ้าให้เพื่อนบ้านอย่าง มอนเตเนโกร โครเอเชีย เป็นต้น บริษัทไฟฟ้าชั้นนำของบอสเนียคือ Elektroprivreda BiH โดยการถือครองของรัฐบาล100% และ Energoinvest บริษัทร่วมเอกชน-รัฐของบอสเนีย ผลิตและแจกจ่ายกระแส่ไฟฟ้าให้ประชาชนบอสเนีย โดยแหล่งผลิตไฟฟ้าของบอสเนียส่วนใหญ่เดิมมาจากเขือนผลิตกระแส่ไฟฟ้าในแม่น้ำเนเรตวาทางตอนกลางของเฮอร์เซโกวีนา แต่ภายหลังมีแผนการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหิน และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองตุชล่า ทางตอนเหนือของประเทศ โดยNEK เป็นผู้บริหารดูแลจัดการในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งในประเทศบอสเนียมีการค้นพบยูเรเนียมที่มีสมรรถนะต่ำสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์พลังงานแบบฟิชชั่น แม้จะมีการคัดค้าน

นอกจากนี้บอสเนียยังเป็นแหล่งที่ตั้งของธนาคารและสินเชื่อมากมาย เช่น Addiko Bank, Bosna Bank International(BBI),Nova banka,Union Banka,MF banka เป็นต้น และรัฐบาลบอสเนียวางแผนจะสร้างประเทศตนเองให้เป็นประเทศที่มีความสำคัญด้านโลจิสติกส์ของอนุภูมิภาคยุโรปกลาง ผ่านโครงการ Corridor Vc ซึ่งกำลังดำเนินการณ์อยู่ ในการสร้างถนนทางหลวง ทางรถไฟ และ ท่าเรือ เพื่อเป็นสถานทีรองรับการนำเข้าและส่งออกให้แก่ยุโรปกลางและบอลข่าน แทนการพึ่งพาเยอรมัน หรือ ตุรกี โดยโครงการได้รับการสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นโปแลนด์ เช็ก สโลวาเกีย สโลเวเนีย โครเอเชีย ฮังการี โรมาเนีย บัลกาเรีย เป็นต้น ซึ่งทำให้บอสเนียกลายเป็นประเทศที่ดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ แม้ว่าภายในประเทศยังค่อนข้างที่จะมีการผูกขาดเศรษฐกิจโดยภาครัฐมากกว่าเอกชนก็ตาม

แหล่งส่งออกบอสเนีย ; เยอรมัน 14.7% , โครเอเชีย 11.8%, อิตาลี11.1%, เซอร์เบีย 10% ,สโลเวเนีย 9%,ออสเตรีย 8.3% ขณะที่การนำเข้าของบอสเนีย ; เยอรมัน 11.6%, อิตาลี11.3%,จีน 6.5%,รัสเซีย 4.7%,ตุรกี 4.2%

อัตราเงินเฟ้อบอสเนียอยู่ที่ 1.369% ประชากรที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนมีต่ำกว่า 15% ของประชากรทั้งหมด GDP ต่อหัวอยู่ที่ 5,754 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 175,000บาท ซึ่งถือเป็นมูลค่าที่สูง และ เศรษฐกิจบอสเนียก็ถูกจัดอันดับให้ประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจค่อนบน ที่สามารถเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้ในอนาคต นอกจากนี้ในทศวรรษที่2020 บอสเนียมีแผนที่จะเข้าร่วม สหภาพยุโรป หรือ สมาคมการค้าเสรียุโรป ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล