การเมืองการปกครอง ของ ประเทศลัตเวีย

ระบบการเมือง หลังจากได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2533 ลัตเวียได้มีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้แทนรัฐธรรมนูญที่สหภาพโซเวียตประกาศใช้มาก่อนหน้านั้นแล้ว และในปัจจุบันได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2535*

บริหาร

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

นิติบัญญัติ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

สถาบันทางการเมืองลัตเวียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภาเป็นระบบสภาเดียว เรียกว่า Saiema ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 100 คน โดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เพื่อลงมติให้ความไว้วางใจ ในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ (พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐสภาต้องได้รับคะแนนเสียงเกินร้อยละ 4 จากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ)

ตุลาการ

ดูบทความหลักที่: กฎหมายลัตเวีย

สถานการณ์ทางการเมือง

สิทธิมนุษยชน

ดูบทความหลักที่: สิทธิมนุษยชนในลัตเวีย

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่เขตการปกครองของประเทศลัตเวีย

ลัตเวียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 เขต (districts - rajons) มี 7 เมืองที่มีสถานะแตกต่างออกไป คือมีฐานะเป็น เทศบาลนคร (cities - lielpilsētas)

  1. เขตไอซเคราเคล
  2. เขตอาลูกส์เน
  3. เขตบัลวี
  4. เขตเบาสกา
  5. เขตเซซิส
  6. เขตเดากัฟปิลส์
  7. เดากัฟปิลส์ (เทศบาลนคร)
  8. เขตโดเบเล
  9. เขตกุลเบเน
  10. เขตเยคับปิลส์
  11. เขตเยลกาวา
  12. เยลกาวา (เทศบาลนคร)
  13. ยูร์มาลา (เทศบาลนคร)
  14. เขตคราสนาวา
  15. เขตคุลดีกา
  16. เขตเลียปายา
  17. เลียปายา (เทศบาลนคร)
  18. เขตลิมบาชี
  19. เขตลุดซา
  20. เขตมาโดนา
  21. เขตโอเกร
  22. เขตเปรย์ยี
  23. เขตเรเซคเน
  24. เรเซคเน*
  25. เขตรีกา
  26. รีกา (เทศบาลนคร)
  27. เขตซัลดุส
  28. เขตตัลซี
  29. เขตตูกุมส์
  30. เขตวัลกา
  31. เขตวัลเมียรา
  32. เขตเวนต์สปิลส์
  33. เวนต์สปิลส์ (เทศบาลนคร)

เขตอาเบรเนถูกผนวกเข้ากับรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สถานะของเขตนี้กำลังเป็นกรณีพิพาทกับลัตเวีย

นโยบายต่างประเทศ

เป้าหมายสำคัญที่สุดของนโยบายด้านความมั่นคงที่แถลงออกมาอย่างชัดแจ้งของลัตเวีย คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงของลัตเวีย เนื่องจากลัตเวียยังคงมีความระแวงต่อ ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นจากรัสเซีย ซึ่งพัฒนาการล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 สมาชิกองค์การ NATO 19 ประเทศ ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวะเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การ NATO ใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.และในด้านนโยบายต่างประเทศ คือ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เพื่อเข้าร่วมกระบวนการรวมตัวของยุโรป โดยลัตเวียและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มบอลติก คือ เอสโตเนีย และลิทัวเนีย พร้อมด้วยสาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 (ค.ศ.2004)

นอกจากนี้ ลัตเวียและประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มบอลติกยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรภูมิภาคอื่นๆ เช่น คณะมนตรีบอลติก (Baltic Council) และองค์การเพื่อความมั่นคง และความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe - OSCE) เป็นต้น

นโยบายต่อสหภาพยุโรป

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เอสโตเนียและลิทัวเนีย พร้อมประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย รวม 10 ประเทศ ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์สรุปพัฒนาการของลัตเวียต่อสหภาพพยุโรปในช่วงเวลาที่ผ่านมา1. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 รัฐสภาลัตเวียได้ให้สัตยาบันต่อความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (Free Trade Accord) เป็นผลให้ลัตเวียสามารถเป็นภาคีสมาชิกความตกลงดังกล่าว กับสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โดย ส่งผลให้ลัตเวียได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ จากสหภาพยุโรป ในรูปของอัตราภาษีศุลกากร โควตาและ GSP2. ลัตเวียได้ลงนามความตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรป (Association Agreement) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2538 โดยมีการกำหนดระยะเวลาปรับตัวไว้ ต่อมาลัตเวียได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ EU โดยสมบูรณ์ต่อ คณะกรรมมาธิการยุโรป3. เมื่อวันที่ 26กันยายน 2539 ลัตเวียได้ส่งคำตอบแบบสอบถามรายละเอียดให้ คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาถึงความพร้อมที่จะทำการเจรจาว่าด้วยการเข้าเป็นสมาชิกภาพ EU โดยสมบูรณ์ ซึ่งลัตเวียได้พยายามทุกวิถีทางที่จะปฏิรูประบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้สอดคล้องกับมาตรฐานและระเบียบกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป เพื่อที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปโดยสมบูรณ์ในช่วงปี ค.ศ.2004 พร้อมกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก ซึ่งได้แก่ ลัตเวียและลิทัวเนีย ทั้งนี้ แม้ว่า ลัตเวียจะไม่ได้ร่วมอยู่ในกลุ่มแรกที่สหภาพยุโรป เริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อรับสมาชิกใหม่ เนื่องจากระดับการพัฒนาของลัตเวียนั้นยังล้าหลัง และไม่เจริญเท่าประเทศอื่น ๆ เช่น เอสโตเนีย โปแลนด์ ฮังการี และสาธารณรัฐเช็ก ก็ตาม แต่ลัตเวียถือว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นเป้าหมายสำคัญในด้านการต่างประเทศ

นโยบายต่อองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)

พัฒนาการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้

  • ก่อนที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO อย่างสมบูรณ์ในปี 2547 ลัตเวียแสดงความปรารถนาที่จะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ขององค์การ NATO โดยเร็วเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงและเสถียรภาพ ทั้งนี้ ลัตเวียได้เข้าเป็นสมาชิกในโครงการหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ (Partnership for Peace –PfP) ขององค์การ NATO อย่างไรก็ดี การขยายตัวขององค์การ NATO ไปทางตะวันออกจะส่งผลกระทบทำให้ รัสเซียมีความกังวลต่อดุลยภาพทางทหารในภูมิภาคยุโรป ดังนั้น การเฝ้าดูท่าทีของรัสเซียจึงเป็นปัจจัยสำคัญด้วย และแม้ว่าบรรดาผู้นำของลัตเวียจะทราบดีถึงสถานภาพดังกล่าวของตนเองต่อองค์การ NATO แต่บรรดาผู้นำรัฐบาลของลัตเวียในแต่ละสมัยยังคงย้ำถึงความปรารถนาที่จะเข้าเป็นสมาชิก NATO โดยเร็วในทุกโอกาส ดังเช่นที่นาย Valdis Birkavs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย (ในช่วงเวลาขณะนั้น) ได้ไปกล่าวในการประชุมสัมมนาเรื่อง NATO and the Baltic States Quo Vadis ซึ่งมูลนิธิ Konrad-Adenauer Stiftung และสถาบันกิจการต่างประเทศของลัตเวียได้จัดขึ้นที่กรุงรีกา เมื่อเดือนธันวาคม 2539 ว่า บรรดารัฐบอลติกมีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของค์การ NATO เนื่องจากบรรดารัฐบอลติกไม่มีทางเลือกอื่น นอกเหนือจากการเข้าเป็นสมาชิกของ NATO และสหภาพยุโรป เพื่อเป็นหลักประกันทางความมั่นคงและเศรษฐกิจของตนเอง แต่อย่างไรก็ดี บรรดารัฐบอลติกทั้งสามประเทศต่างอยากจะได้รับคำยืนยันจาก NATO ว่า ยินดีจะรับรัฐบอลติกทั้งสามประเทศเข้าเป็นสมาชิกของ NATO
  • พัฒนาการล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของลัตเวีย คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 สมาชิกองค์การ NATO 19 ประเทศ ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวาเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การ NATO ใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ประวัติบุคคลสำคัญทางการเมือง

  1. ประธานาธิบดีลัตเวีย นาง Vaira Vike-Freiberga เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1937 เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีลัตเวีย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ.1999 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นาง Vike-Freiberga นับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของลัตเวีย และเป็นประธานาธิบดีสุภาพสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของลัตเวีย จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน Experimental Psychology จาก McGill University สหรัฐฯ ก่อนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี นาง Vike-Freiberga เคยทำงานเป็นอาจารย์ที่ Université de Montréal แคนาดา ระหว่างปี ค.ศ.1979-1998 และผู้อำนวยการสถาบันลัตเวีย ปี ค.ศ.1998
  2. นายกรัฐมนตรีลัตเวีย นาย Aigars Kalvitis เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2509 เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีลัตเวียเป็นสมัยแรก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2547 ภายหลังจากที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Indulis Emsis ต้องสิ้นสภาพลงเมื่อรัฐสภา Saeima ของลัตเวียลงคะแนนเสียงไม่รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี 2548 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี Kalvitis เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ทางการเมือง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ระหว่างปี 2543 - 2545 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ระหว่างปี 2542 - 2543
  3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย นาย Artis Pabriks เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2509 เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 รัฐมนตรี Pabriks สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Aarhus ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี 2539 ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรี Pabriks เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองสำคัญ ๆ เช่น ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ รัฐสภาลัตเวีย และเลขานุการกิจการรัฐสภา กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น

การเข้าร่วมองค์การในภูมิภาค

ประเทศลัตเวียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การในภูมิภาคดังนี้

  1. CE - Council of Europe หรือ คณะมนตรียุโรป
  2. EBRD - European Bank for Reconstruction and Development หรือ ธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาแห่งยุโรป
  3. CBSS

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

ความสัมพันธ์ลัตเวีย – ไทย
ไฟล์:Latvia Thailand Locator.png

ลัตเวีย

ไทย
  • การทูต

ไทยประกาศรับรองรัฐลัตเวียเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2534 พร้อมกับการประกาศรับรองรัฐเอสโตเนีย และลิทัวเนีย ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2535 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ไทยดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับลัตเวีย และให้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูต ในระดับเอกอัครราชทูตระหว่างกัน โดยให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสต็อกโฮล์ม มีเขตอาณาครอบคลุมฟินแลนด์ ลัตเวียและเอสโตเนีย โดยนายสุจินดา ยงสุนทรเอกอัครราชทูต ณ กรุงสต็อกโฮล์ม ได้เดินทางไปยื่นพระราชสาส์นตราตั้งเป็นเอกอัครราชทูตคนแรกประจำลัตเวีย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2544เห็นชอบให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออลโล มีเขตอาณาครอบคลุมลัตเวียแทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสต็อกโฮล์ม และปัจจุบันเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำลัตเวีย อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย สำหรับ ลัตเวียยังมิได้ตั้งสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย แต่ได้จัดตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย โดยมีนายประสงค์ จงรัตนากุล ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ลัตเวียประจำประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538

  • การเมือง

ลัตเวียพร้อมที่จะขยายความร่วมมือกับไทยในทุก ๆ ด้าน ทั้งในกรอบทวิภาคีและกรอบพหุภาคี ในด้านความสัมพันธ์ทางการทูต ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นโดยมีการแลกเปลี่ยนสารแสดงความยินดีระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอในโอกาสสำคัญๆ อาทิเช่น การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของลัตเวีย เป็นต้น นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังได้สนับสนุนการดำเนินงานในกรอบเวทีการเมืองประเทศระหว่างกัน โดยเฉพาะการให้ความสนับสนุนของลัตเวียต่อผู้สมัครของไทยในองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญๆ เช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น

  • การค้าและเศรษฐกิจ

ลัตเวียตระหนักถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของไทยในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะขีดความสามารถในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ลัตเวียได้มองไทยโดยเปรียบเทียบกับบางประเทศในเอเชียในเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์ทางการค้า เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่นและจีน ฝ่ายลัตเวียเสนอตัวที่จะเป็นประตูการค้าให้ไทยสำหรับการค้าขายกับรัสเซีย และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช เนื่องจากสภาพที่ตั้งของประเทศมีความคุ้นเคยกับวิธีการค้าและรู้จักอุปนิสัยของคนรัสเซีย อีกทั้งมีท่าเรือปลอดน้ำแข็งอยู่ด้วย นอกจากนี้ ภาวะการเงินของลัตเวียก็เริ่มมีเสถียรภาพขึ้น การโอนเงินตราเข้าออก สามารถกระทำได้โดยมีข้อจำกัดน้อยมาก ส่วนระบบธนาคารอาจจะมีจำนวนมากเกินไป แต่การแข่งขันก็เป็นไปโดยเสรีและเชื่อว่าจำนวนธนาคารซึ่งมีอยู่มากเกินไปในขณะนี้จะลดลงเรื่อย ๆ

สถิติการค้าระหว่างไทยกับลัตเวียในช่วงปี 2549 (ม.ค.-ส.ค.) มีปริมาณการค้ารวม 13.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการส่งออกไปลัตเวีย 13.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ นำเข้า 0.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 12.6ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับปริมาณการค้าไทย-ลัตเวียในปี 2548 มีมูลค่า 17.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 16.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้า 1.2 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 14.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย คือ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ไม้และไม้แปรรูป เป็นต้น

  • การศึกษา และ วิชาการ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
  • กีฬา และ การท่องเที่ยว

ชาวลัตเวียเริ่มมาท่องเที่ยวประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เกาะสมุย ระหว่างปี 2537 - 2539 บริษัทนำเที่ยวของลัตเวียได้จัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำมายังประเทศไทยหลายเที่ยวบิน โดยมีสถิติดังนี้

  • ในปี 2542 มีนักท่องเที่ยวลัตเวียเดินทางมาไทยจำนวน 944 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.79 จากปี 2541
  • ในปี 2544 มีจำนวน 989 คน ในปี 2545 มีจำนวน 1,080 คน ในปี 2546 มีจำนวน 925 คน และ
  • ในระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคมของปี 2547 มีนักท่องเที่ยวลัตเวียเดินทางมาไทยจำนวน 734 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 45.35 แหล่งท่องเที่ยวหลักของชาวลัตเวียประกอบด้วยยุโรปตะวันตกยุโรปตะวันออก สแกนดิเนเวียและฟินแลนด์ และลัตเวียมีบริษัทนำเที่ยวทั้งในด้านi nbound และ outbound ประมาณ 200 บริษัท(ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแผยแพร่ภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้ชาว ลัตเวียมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมลัตเวียได้จัดโครงการนำคณะสื่อมวลชนลัตเวียเดินทางมาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 8 - 16 มิถุนายน 2546

  • การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทย
  1. เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) คณะทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ (Familiarization Mission) เยือนกลุ่มประเทศบอลติก (ลิทัวเนีย ลัตเวียและเอสโตเนีย) เพื่อสำรวจลู่ทางการพัฒนาความสัมพันธ์
  2. วันที่ 22 สิงหาคม - 3 กันยายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนเกาะกรีนแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย เป็นการส่วนพระองค์ (ลัตเวีย ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 30 สิงหาคม 2542)
  3. วันที่ 9 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) ได้จัดงาน Baltic Countries Road Show 2000 ที่เอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนีย (กรุงรีกา วันที่ 14 กรกฎาคม 2543)
  4. วันที่ 10 - มิถุนายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายสรจักร เกษมสุวรรณ) และคณะ เดินทางเยือนลัตเวียอย่างเป็นทางการ และได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย Rihards Piks รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย และพบหารือกับนาย Maris Riekstins รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย (State Secretary of Ministry of Foreign Affairs)
ฝ่ายลัตเวีย
  1. วันที่ 6-10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (ค.ศ.1996) นาย Valdis Birkavs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย) และภริยา พร้อมคณะภาคเอกชน เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ และหารือข้อราชการกับ ม.ร.ว. เทพ เทวกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  2. วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2543 (ค.ศ.2000) นาย Vladimirs Makarovs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ (ลัตเวีย) เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ระหว่าง วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2543 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนลัตเวีย

กองทัพ

ดูบทความหลักที่: กองทัพลัตเวีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศลัตเวีย http://www.britannica.com/EBchecked/topic/332121/L... http://maps.google.com/maps?q=Latvia&hl=en&sll=37.... http://latvians.com http://www.vifanord.de/index.php?id=1&L=1&rd=85964... http://ucblibraries.colorado.edu/govpubs/for/latvi... http://www.ifs.du.edu/ifs/frm_CountryProfile.aspx?... http://europa.eu/about-eu/countries/member-countri... http://www.latvia.eu/ http://www.webometrics.info/en/Europe/Latvia%20 http://www.bank.lv/en/