การเมืองการปกครอง ของ ประเทศเนปาล

บริหาร

ราม บารัน ยาดัฟ ผู้เป็นประธานาธิบดี

ในปัจจุบัน เนปาลเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีนายราม บารัน ยาดัฟ เป็นประธานาธิบดีคนแรก จากการลงคะแนนเสียงของสภาร่างรัฐธรรมนูญ 308 เสียง และนายคีรีชา ปราสาท โกอีราละ อดีตรักษาการณ์ประมุขแห่งรัฐทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อไป จนมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อันนำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมา หรืออดีตกลุ่มกบฏลัทธิเหมา ซึ่งมีนายประจันดา เป็นนายกรัฐมนตรี [8] แต่หลังจากที่นายประจันดา ต้องการให้อดีตกลุ่มกบฏของเขาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ จึงมีกระแสกดดันมาจากผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเนปาล และรวมทั้งประธานาธิบดียาดัฟ นายประจันดาจึงประกาศลาออก และสภาได้เลือกนายมาดัฟ คูมาร์ เนปาล อดีตเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ลัทธิมาร์ก-เลนิน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ก่อนครบรอบ 1 ปีของการสถาปนาระบอบสาธารณรัฐในเนปาล

ปัจจุบัน นายซูชิล คอยราลา (Sushil Koirala) ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของเนปาล สาบานตนเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[9]

นิติบัญญัติ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ตุลาการ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การแบ่งเขตการปกครอง

เนปาลแบ่งเป็น 14 เขต (อันจัล) ดังนี้

  1. เขตบากมาติ
  2. เขตเภรี
  3. เขตธวัลคิรี
  4. เขตคันดากิ
  5. เขตชนกปุระ
  6. เขตการ์นาลี
  7. เขตโกษิ
  1. เขตลุมพินี
  2. เขตมหากาลี
  3. เขตเมจี
  4. เขตนรยานี
  5. เขตรัปติ
  6. เขตสกรมาธา
  7. เขตเสทิ

ต่างประเทศ

กองทัพ

ดูบทความหลักที่: กองทัพเนปาล
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เป็น กองทัพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประเทศเนปาล http://www3.nationalgeographic.com/places/countrie... http://www.nepalipost.com/index/englishnews.php?ni... http://sify.com/news/fullstory.php?id=14683139 http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/profiles/Nepal.pdf http://memory.loc.gov/frd/cs/nptoc.html http://www.state.gov/r/pa/ei/bgn/5283.htm http://cbs.gov.np/wp-content/uploads/2012/11/Natio... http://www.nepalgov.gov.np //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://sameaf.mfa.go.th/th/news/detail.php?ID=4977...