เศรษฐกิจ ของ ประเทศเอธิโอเปีย


เศรษฐกิจเอธิโอเปียยังพึ่งพารายได้จากภาคกสิกรรมเป็นหลัก แม้รัฐบาลจะได้ปฏิรูปที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากขาดการวางแผนที่ดี และการเพาะปลูกยังพึ่งพาแหล่งน้ำฝนตามธรรมชาติอยู่เกือบทั้งหมด มีปัญหาการชลประทานรวมทั้งวิธีการเพาะปลูกที่ล้าสมัย ในขณะเดียวกันภาคบริการของเอธิโอเปียก็เติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ประชาชาติ โดยภาคส่วนที่มีอัตราการเติบโตสูงได้แก่การบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว การก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการคมนาคม รัฐบาลเอธิโอเปียมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งสัตว์ป่า แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเอธิโอเปียยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีเท่าใดนัก และยังล้าหลังเคนยาอยู่มาก ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเอธิโอเปียประมาณปีละ 2 แสนคน

นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอิงแนวทางของธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ภายใต้กรอบนโยบาย Sustainable Development and Poverty Reduction Programme (SDPRP) ตามเงื่อนไขของ IMF และประเทศผู้บริจาคต่างๆ ซึ่งถือได้ว่าประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของนักลงทุน และบรรดาประเทศผู้บริจาคต่างๆ เนื่องจากการปฏิรูปเศรษฐกิจนำไปสู่ระบบเสรีเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป การแปรรูปรัฐวิสาหกิจยังมีน้อย และโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น ถนน และระบบสาธารณูปโภค ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนขนาดใหญ่

ความสำเร็จของการปฏิรูปเศรษฐกิจของเอธิโอเปียขึ้นอยู่กับความช่วยเหลือที่ได้รับจากประเทศผู้บริจาคเป็นสำคัญ ซึ่งในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ได้มีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้ประเทศผู้บริจาคมีความห่วงกังวล เช่น การปราบปรามผู้ประท้วงฝ่ายค้านอย่างรุนแรง สงครามกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในโซมาเลีย และปัญหาชายแดนกับเอริเทรีย นอกจากนี้ กลุ่มกบฏ Ogaden National Liberation Front (ONLF) ยังได้โจมตีฐานขุดเจาะน้ำมันของจีนที่เมือง Ogaden เมื่อเดือนเมษายน 2550 ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติในเอธิโอเปียขาดความมั่นใจ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า เศรษฐกิจเอธิโอเปียจะเติบโตในอัตราร้อยละ 7.5 ในปี 2550-2551 มีบริษัทต่างชาติใหม่ๆ เข้าไปลงทุนในเอธิโอเปีย เช่น Starbucks รวมทั้งการลงทุนการผลิตพลังงานชีวภาพก็เพิ่มขึ้นด้วย



ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)

103.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายหัว (GDP per Capita)

1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

อัตราการเตบโตของ GDP

7% (ค่าประมาณพ.ศ. 2555)GDP แยกตามภาคการผลิต

ภาคการเกษตร 46.6%ภาคอุตสาหกรรม 14.6%ภาคการบริการ 38.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)อัตราการว่างงาน

ไม่มีข้อมูล

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

21.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

หนี้สาธารณะ

44.4% จาก GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ผลผลิตทางการเกษตร

ธัญพืช ถั่ว กาแฟ เมล็ดน้ำมัน ฝ้าย น้ำตาลก้อน มันสำปะหลัง ต้นแกต ดอกไม้สด หนังสัตว์ โค กระบือ แกะ แพะ ปลา

อุตสาหกรรม

อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งทอ หนัง เคมีภัณฑ์ การผลิตโลหะ ซีเมนต์

ดุลบัญชีเดินสะพัด

-2.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

มูลค่าการส่งออก

3.163 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้าส่งออกที่สำคัญ

กาแฟ ต้นแกต ทอง ผลิตภัณฑ์จากหนัง สิ่งมีชีวิต และต้นน้ำมัน

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก) ที่สำคัญ

  1. จีน 12.2%
  2. เยอรมัน 14.2%
  3. เบลเยี่ยม 7.8%
  4. ซาอุดิอาระเบีย 6.8%
  5. สหรัฐอเมริกา 6.3%
  6. อิตาลี 5.1% (พ.ศ. 2554)

มูลค่าการนำเข้า

10.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้าที่สำคัญ

อาหารและสิ่งมีชีวิต ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร เครื่องยนต์ยานพาหนะ ธัญพืช และสิ่งทอ

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ

  1. จีน 9.9%
  2. สหรัฐอเมริกา 7.6%
  3. ซาอุดิอาระเบีย 10%
  4. อินเดีย 4.6% (พ.ศ. 2554)

สกุลเงิน

เอธิโอเปีย เบีย (Ethiopian Birr)

สัญลักษณ์เงิน

ETB

อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

(ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราได้ที่นี่)