ส่วนประกอบของประแจ ของ ประแจ_(รถไฟ)

รางลิ้น

รางลิ้นประแจ

รางลิ้น (point blade) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้รถไฟสามารถเปลี่ยนทิศทางเดินได้ ประกอบด้วยราวเหล็กโค้งและราวเหล็กตรงอย่างละอัน ปลายด้านที่สวนกับขบวนรถจะลีบเล็กเพื่อให้ชิดซ้ายหรือขวาได้สะดวก จากรูป (ซ้ายมือ) เป็นประแจสวนเบี่ยงไปทางซ้าย ท่าตรง จะสังเกตเห็นว่ารางลิ้นชิดซ้าย ทำให้ครีบล้อยังคงรักษาทิศทางตรงได้อยู่ ในทางกลับกันหากกลับประแจให้รางลิ้นชิดขวา บังใบล้อจะถูกบังคับให้เดินตามทางเลี้ยวแทน

ตะเฆ่

จากรูป ด้านซ้ายรูปเป็นตะเฆ่ ส่วนด้านขวาเป็นราวกันตกราง

ตะเฆ่ (frog) หมายถึงจุดต่อหักมุมของราวเหล็ก ระหว่างทางตรงและทางเลี้ยว เป็นส่วนที่ต้องทำให้แข็งแรงอย่างมากเพราะต้องรับแรงสะเทือนจากขบวนรถ จนบางครั้งก็ต้องนำไปทำให้แข็งโดยผ่านประบวนการแรงระเบิด (shock hardening)[3] คำว่า frog มีที่มาจากลักษณะของตะเฆ่กับกีบม้า

รางกัน

รางกัน หรือราวกัน (check rail) เป็นราวเหล็กที่ติดตั้งชิดด้านในรางรถไฟในระยะกว้างพอให้ครีบล้อผ่านได้ นิยมติดตั้งไว้ด้านตรงข้ามกับตะเฆ่เพื่อให้แน่ใจว่าครีบล้ออยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง หรือแม้แต่นำไปติดตั้งในโค้งรัศมีแคบ[4] หรือบนสะพานด้วย

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องกลับประแจหรือคันกลับประแจเพิ่มเติมด้วย ซึ่งจะทำหน้าที่ขยับรางลิ้นให้อยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง รวมไปถึงกลไกบังคับสัญญาณประจำที่สัมพันธ์ประแจนั้นด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประแจ_(รถไฟ) http://nla.gov.au/nla.news-article10038956 http://www.catskillarchive.com/rrextra/tkmacph.Htm... http://www.templot.com/martweb/gs_realtrack.htm http://www.vossloh-cogifer.com/cms/media/downloads... http://www.youtube.com/watch?v=MbSmoUH1Cqk http://www.youtube.com/watch?v=y7h4OtFDnYE http://www.zboriljosef.cz/Links.html http://www.oberbauhandbuch.de/en/oberbauhandbuch/w... http://www.du.edu/~jcalvert/ http://www.du.edu/~jcalvert/railway/turnout.htm