ลักษณะปราสาท ของ ปราสาทตาเล็ง

ปราสาทตาเล็ง มีลักษณะเป็นปรางค์เดี่ยว ตั้งอยู่บนฐานองค์ปรางค์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันสภาพเหลือเพียงผนังด้านหน้าและผนังข้างบางส่วน[2] มีประตูเข้าได้ทางเดียว อีกสามด้านเป็นประตูหลอก ลักษณะสำคัญคือ เสาติดผนังประตูหน้าทั้งสองข้างยังคงพบลวดลายสลักเต็มแผ่นอย่างสวยงาม เป็นลายก้านขด และยังพบว่ามีทับหลังวางอยู่หลายชิ้น หนึ่งในนั้นเป็นภาพสลักพระอินทร์ทรงช้าง ในเรือนแก้วหน้ากาล ซึ่คายท่อนพวงมาลัยออกมาจากปาก และยึดท่อนพวงมาลัยนั้นไว้ในมือด้วย นอกจากนี้ยังพบทับหลังสลักภาพฤๅษีนั่งเรีนงกันในท่าสมาธิ 7 ตน จากหลักฐานสันนิษฐานว่าสร้างปราสาทนี้ในราว พ.ศ. 1560 - พ.ศ. 1630

สภาพปัจจุบันของตัวปราสาทตาเล็ง รอบตัวปราสาทมีหินมีส่วนประกอบของปราสาทตกอยู่หลายชิ้นกระจัดกระจาย ตั้งอย่ท่ามกลางกลุ่มต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุหลายร้อยปี เช่น ต้นสำรอง ต้นตะแบก ต้นมะขาม ต้นข่อย

ในวันที่ 14 เมษายน ของทุกๆปี ปราสาทตาเล็งจะถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานวันกตัญญูผู้สุงอายุ รดน้ำดำหัวผู้เฒ่า ตำบลปราสาท มีการละเล่นประเพณีพื้นบ้านทุกปี

ใกล้เคียง