สถาปัตยกรรม ของ ปราสาทเมืองแขก

เป็นปราสาทหินทรายผสมอิฐ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆด้านนอกเป็นแนวคูน้ำขนานกับแนวคันดินเกือบรอบโบราณสถานทางด้านเหนือมีประตูหรือโคปุระ เป็นทางเดินเชื่อมไปยังด้านใน ซึ่งมีซากฐานปราสาทสามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันโดยหันหน้าไปทางทิศเหนือ 

พ้นจากแนวคูน้ำคันดินออกไปนอกสุด มีซากอาคารสองหลังสร้างหันหน้าเข้าหากัน อาคารทั้งสองหลังนี้มีแนวกำแพงล้อมรอบ เมื่อคราวที่กรมศิลปากรบูรณะ ได้พบทับหลังสลักลายก้านต่อดอกซึ่งเทียบได้กับลวดลายในศิลปะเขมรโบรณสมัยบันทายศรี ราวปี พ.ศ. 1510-1550 นอกจากนี้ยังพบศิลาจารึกที่ถูกนำมาก่อเป็นฐานประตูซุ้มชั้นนอกระบุปี พ.ศ. 1514 และพ .ศ. 1517 นักโบราณคดีจึงสันนิษฐานจากหลักฐานที่พบทั้งหมดว่า ปราสาทแห่งนี้น่าจะเป็นศาสนสถาน ในคติฮินดูหรือพรามณ์ ที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อประกอบพิธีกรรมถวายแด่พระศิวะ

ใกล้เคียง