ประวัติ ของ ปรือเปียต

เบื้องหลัง

ดูเพิ่มเติมที่: ภัยพิบัติเชียร์โนบีล
ภาพพาโนรามาของปรือเปียตในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีลกับระดับกัมมันตรังสีในปี 2003 อยู่ที่ 763 ไมโครเรินต์เกนต่อชั่วโมง

ไม่เหมือนกับเมืองปิดอื่น ๆ การเดินทางไปยังปรือเปียตยังไม่ได้ห้ามก่อนภัยพิบัติ ในตอนที่สหภาพโซเวียตถือว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปลอดภัยกว่าโรงไฟฟ้าแบบอื่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นรางวัลของวิศวกรรมโซเวียต ในตอนนั้น คำขวัญ "อะตอมอันสงบสุข" (รัสเซีย: мирный атом, อักษรโรมัน: mirnyy atom) ยังเป็นที่นิยม ตามแผนเดิมที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ห่างจากเคียฟแค่ 25 กิโลเมตร แต่ทางสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติยูเครนกับองค์กรอื่นกังวลว่า มันอยู่ใกล้เมืองเกินไป จึงต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียรกับปรือเปียต[7]ให้ห่างจากเคียฟไปประมาณ 100 กิโลเมตร หลังจากภัยพิบัตินั้น ก็มีการอพยพภายในสองวัน[8]

ภาพพาโนรามาของปรือเปียตในฤดูร้อน โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีลอยู่ตรงกลางบน

หลังภัยพิบัติเชียร์โนบีล

สระว่ายน้ำสีฟ้าใน ค.ศ. 1996 หลังภัยพิบัติไปทศวรรษสระว่ายน้ำสีฟ้าเสื่อมโทรมจากกการไม่ได้ใช้งานใน ค.ศ. 2009 หลังจากภัยพิบัติไปกว่า 2 ทศวรรษ

ใน ค.ศ. 1986 มีการสร้างเมืองสลาวูติชเพื่อทดแทนปรือเปียต

หนึ่งในแลนด์มาร์กสำคัญในพบในภาพของเมืองและมองเห็นจากภาพถ่ายทางอากาศในเว็บไซต์คือชิงช้าสวรรค์ที่ถูกทิ้งร้างมานานในสวนสนุกปรือเปียต ซึ่งวางแผนที่จะเปิดหลังจากภัยพิบัติใน 5 วัน เพื่อฉลองวันแรงงาน[9][10] นอกจากนี้ ก็มีสถานที่โด่งดังอีกสองแห่งคือสระว่ายน้ำสีฟ้าและสนามกีฬาอาวันฮาร์ด

ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ผู้ที่เคยอยู่อาศัยที่ปรือเปียตได้รวมตัวกันในเมืองร้างเพื่อฉลองวันก่อตั้ง 50 ปี ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้เคยอยู่อาศัยกลับมายังตัวเมืองตั้งแต่การอพยพออกไปใน ค.ศ. 1986[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปรือเปียต http://www.brama.com/ukraine/citycode.html http://www.chernobylee.com/articles/chernobyl/my-j... http://chernobylgallery.com/ http://www.chernobylwel.com/EN/3/chernobyl/ http://www.dirjournal.com/info/abandoned-places-in... http://www.exploringthezone.com http://new.pripyat.com/en/city/visiting-card/2005/... http://pripyatpanorama.com/ http://www.floodmap.net/elevation/ElevationMap/?gi... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...