ปลากระดี่
ปลากระดี่

ปลากระดี่

ปลากระดี่ (อังกฤษ: Gouramis, Gouramies; อินโดนีเซีย: Sepat; อีสาน: กระเดิด) เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในสกุล Trichopodus (เดิมใช้ Trichogaster[1][2]) ในวงศ์ย่อย Luciocephalinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidaeมีรูปร่างโดยทั่วไป คือ แบนข้างคล้ายใบไม้ หัวมีขนาดเล็ก ปลายปากค่อนข้างแหลม ปากมีขนาดเล็ก มีครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใหญ่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "ตะเกียบ" เป็นอวัยวะช่วยในการสัมผัส มีก้านครีบแขนง 2-4 ก้าน ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3-9 ก้าน และก้านครีบแขนง 7-11 ครีบ ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 9-14 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 25-40 ก้าน ครีบท้องและครีบก้นต่อยาวเป็นแถวเดียวกัน โดยที่ไม่มีเส้นข้างลำตัว ปลายครีบหางไม่เว้ามากนักเป็นปลาที่มีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบได้แทบทุกประเภทของแหล่งน้ำจืด มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่ พบทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก่มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจ จึงสามารถดำรงชีพอยู่ในน้ำที่ออกซิเจนต่ำได้เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้ แต่ทว่า สำหรับปลากระดี่แล้วอวัยวะส่วนนี้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพสู้ปลาชนิดอื่นไม่ได้ จึงจะเห็นปลากระดี่ในบางครั้งจะลอยตัวขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำเสมอ ๆ อุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร แต่ไม่เท่ากับปลาในสกุลอื่น เช่น ปลากัด (Betta spp.) หรือ ปลากริม (Trichopsis spp.) การผสมพันธุ์และวางไข่จะกระทำในช่วงฤดูฝนเช่นเดียวกับปลาในวงศ์นี้ทั่วไป โดยมีการก่อหวอดเช่นเดียวกับปลากัดและปลากริม แต่ทว่าลักษณะฟองหวอดของปลากระดี่จะมีขนาดเล็กกว่า แต่จะติดกันเป็นแพใหญ่กว่า และบางครั้งอาจมีเศษหญ้าหรือพืชน้ำหรือสาหร่ายผสมร่วมด้วย และยังแตกต่างออกไปในแต่ละชนิดมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเป็นปลาเศรษฐกิจ สำหรับการบริโภค โดยนำไปทำเป็นปลาแห้ง ซึ่งนิยมกันมาก โดยเฉพาะปลาสลิด ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างมากโดยเฉพาะในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ[3] และปรุงสด ๆ อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะ ปลากระดี่หม้อที่มีสีสันแตกต่างหลากหลายกันมาก[4]ปลากระดี่นับเป็นปลาอีกจำพวกหนึ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนาน จนเกิดมีภาษิตที่ว่า "กระดี่ได้น้ำ" อันหมายถึง คนที่มีพฤติกรรมระริกระรี้กระหยิ่มดีใจจนเกินเหตุ[5] และมีชื่อบ้านนามเมืองของ ชุมชนบางกระดี่ ที่ตั้งอยู่ในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวไทยเชื้อสายมอญ เล่ากันว่าเป็นเพราะในสมัยก่อนมีปลากระดี่ชุกชุม[6] [7]