ชนิดของปลาที่นิยมนำมาทำเป็นปลากระป๋อง ของ ปลากระป๋อง

ปลาแซลมอน

โรงงานผลิตปลาแซลมอนกระป๋องเป็นโรงงานที่ผลิตปลาแซลมอนกระป๋องเพื่อการค้าขายซึ่งเป็นการบุกเบิกอุตสาหกรรมการผลิตปลากระป๋องโดยทั่วไปและมีการสร้างโรงงานผลิตปลาแซลมอนกระป๋องในบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของทวีปอเมริกาเหนือในศตวรรศที่ 19 และได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของโลกที่ปลาแซลมอนสามารถหาได้ทั่วไป

ก่อนที่จะมีการบรรจุกระป๋อง ปลาแซลมอนจะถูกนำมาหมักเกลือเพื่อเก็บรักษาปลาไว้ ในช่วงต้นศตวรรศที่ 19 ชาวรัสเซียได้นำปลาแซลมอนเค็มที่จับได้ในอลาสก้าไปขายที่เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ต่อมาไม่นาน บริษัทนอร์ทเวสท์เฟอร์ได้เริ่มขายปลาแซลมอนเค็มจากแม่น้ำโคลัมเบียโดยได้รวมกับบริษัทอ่าวฮัดสันและนำไปวางขายในออสเตรเลีย,ฮาวาย,จีน,ญี่ปุ่นและภาคตะวันออกของสหรัฐ ต่อมาโรงงานที่เคยผลิตปลาแซลมอนเค็มบางแห่งก็เปลี่ยนมาผลิตปลาแซลมอนกระป๋องแทน

ปลาซาร์ดีน

ปลาซาร์ดีนสามารถนำมาบรรจุกระป๋องได้หลายวิธี โดยจะนำปลาไปล้างให้สะอาด หัวและหางของมันจะถูกตัดออกแล้วนำไปทำให้สุกด้วยการนำไปทอดหรือนึ่งไอน้ำและนำไปบรรจุพร้อมกับน้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันหรือน้ำมันถั่วเหลืองหรือไม่ก็ซอสมะเขือเทศ ซอสพริกหรือซอสมัสตาร์ด

ปลาทูน่า

ปลาทูน่ากระป๋องมักจะนำบรรจุพร้อมกับน้ำมันพืช น้ำเกลือหรือซอสต่าง ๆ โดยที่ปลาทำนำมาทำมักจะเป็นปลาทูน่าครีบเหลืองหรือปลาโอลายที่จับกันในที่ๆห่างไกลจากโรงงานที่ผลิตซึ่งถ้าเก็บรักษาปลาก่อนที่จะนำมาผลิตได้ไม่ดีก็จะทำให้ปลาเสียคุณภาพไปได้ กระบวนการผลิตจะนำปลาไปล้าง นำเครื่องในออก คัดแยกเนื้อและปิดบรรจุกระป๋อง โดยเนื้อที่มีสีเข้มจะถูกไปทำเป็นอาหารของเจ้านาย การนำกระป๋องที่บรรจุปลาไปผ่านความร้อนจะสามารถฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ได้แต่ไม่สามารถทำลายสารฮิสตามีนที่สร้างกลิ่นหืนแบบฉบับของปลาทูน่ากระป๋องได้

มาตรฐานนานาชาติได้ระบุระดับสารฮิสตามีนไว้อยู่ที่ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ระดับของโอเมก้า 3 ที่พบมักจะมีหลายหลากระดับด้วยกันซึ่งเป็นผลจากขั้นตอนการผลิตที่ทำลายกรดไขมันโอเมก้า 3 ในเนื้อปลา

ปลาอื่นๆ

โดยปลาชนิดอื่น ๆ ที่นิยมนำมาทำให้เป็นปลากระป๋องด้วยเช่นกัน มีทั้ง ปลาแม็คเคอเรล ปลาแฮร์ริ่ง ปลาค็อด เป็นต้น