ปลาการ์
ปลาการ์

ปลาการ์

[2]ปลาการ์ หรือ ปลาการ์ไพค์ (อังกฤษ: Gar, Garpike[3]) เป็นปลาน้ำจืดกระดูกแข็งที่มีก้านครีบวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Lepisosteidae (/เล็พ-พิ-โส-สตี-ได-ดี้/) และอยู่ในอันดับ Lepisosteiformes (/เล็พ-พิ-โส-สตี-ได-ฟอร์-เมส/)[4]ปลาการ์มีรูปร่างคล้ายกับปลากระทุงเหว หรือปลาเข็ม ที่อยู่ในอันดับ Beloniformes คือ มีรูปร่างเรียวยาว มีลักษณะเด่นคือ มีจะงอยปากที่แหลมยาวยื่นออกมาคล้ายเข็มเห็นได้ชัดเจน ซึ่งภาษาอังกฤษเก่าคำว่า "Gar" หมายถึง "หอก" [5] ขณะที่ชื่อสกุลในทางวิทยาศาสตร์คำว่า Lepisosteus มาจากภาษากรีกคำว่า lepis หมายถึง "เกล็ด" หรือหมายถึง "กระดูก" [6] และ Atractosteus ดัดแปลงมาจากภาษากรีกคำว่า atraktos หมายถึง "ธนู" [7]ทั้งนี้เนื่องจากปลาการ์มีเกล็ดแบบกานอยด์ซึ่งเรียงตัวกันเป็นรูปสามเหลี่ียมแบบเพชร มีความหนา่และแข็งแรงห่อหุ้มลำตัวเสมือนเกราะ โดยมีลักษณะเช่นนี้มา่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว โดยปลาการ์ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายยุคครีเตเชียส โดยพบเป็นซากฟอสซิลตามทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงในภาคอีสานของประเทศไทยด้วย ที่มีการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้[8]ปลาการ์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 สกุล เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ในขณะที่บางชนิดอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือตามชายฝั่งบ้าง พบกระจายพันธุ์ฺเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และแคริบเบียน มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนแท่งดินสอ มีจะงอยปากยื่นแหลมที่ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมอยู่เป็นจำนวนมาก ใช้สำหรับล่าเหยื่อและกินอาหาร มีเส้นข้างลำตัวที่ไวต่อความรู้สึก ใช้เป็นประสาทในการสัมผัสและนำทาง ปลายกระดูกสันหลังข้อสุดท้ายยกเชิดขึ้น และโค้งไปตามขอบบนของหางจนถึงปลายครีบหาง ทำให้มีครีบหางกลมมนเป็นรูปพัด มีรูจมูกอยู่ที่ปลายจะงอยปาก นอกจากนี้แล้วยังมีถุงลมที่ทำหน้าที่เสมือนปอด จึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำที่ีมีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ โดยการขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำ[1][9]ปลาการ์ทั้งหมดวางไข่ในน้ำจืด มีรายงานระบุว่าไข่ของปลาวงศ์นี้มีพิษ โดยพฤติกรรมจะอาศัยรวมฝูงกันอยู่ระดับในผิวน้ำในฤดูร้อน และจะดำดิ่งลงสู่เบื้องล่างในฤดูหนาว อาหารส่วนใหญ่จะมักจะเป็น นกน้ำ เช่น นกเป็ดน้ำ และ ปู ซึ่งง่ายต่อการล่า ในหลายพื้นที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬาและนำชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น เกล็ดมาทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน รวมถึงเนื้อด้วยในบางชนิดรับประทานเป็นอาหาร[4]มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 10-14 ฟุต ในปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้ด้วย และนับเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก มีการเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามหรือแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งในหลายพื้นที่ได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ส่งผลต่อการสูญพันธุ์ของปลาและสัตว์น้ำพื้นเมืองได้[10] [11]

ใกล้เคียง

ปลาการ์ ปลาการ์ตูน ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ร่า รูฟา ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงชมพู ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนเพอร์คูล่า ปลาการ์ตูนแดงดำ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปลาการ์ http://www.pantown.com/board.php?id=52308&area=4&n... http://dictionary.reference.com/browse/gar http://filaman.ifm-geomar.de/Eschmeyer/GeneraSumma... http://filaman.ifm-geomar.de/Eschmeyer/GeneraSumma... http://filaman.ifm-geomar.de/Summary/FamilySummary... http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?se... http://www.komchadluek.net/detail/20111010/111337/... http://biodiversitylibrary.org/page/4404844 http://www.fishbase.org/Summary/FamilySummary.cfm?... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...