ปลาข้อมือนาง

ปลาข้อมือนาง (เวียดนาม: cá ngựa bắc; ชื่อวิทยาศาสตร์: Folifer brevifilis) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Folifer[1] โดยสันนิษฐานว่า มาจากภาษาละตินคำว่า foli หมายถึง "ใบไม้" และ ifer หมายถึง "แบก" รวมความแล้วหมายถึงลักษณะของปากของปลาชนิดนี้ที่อยู่ด้านล่าง และ brevis หมายถึง "เล็ก, น้อย" และ filum หมายถึง "หนวด" หรือ "เส้นด้าย" อันหมายถึง หนวดที่ลักษณะสั้นมาก[2]มีลำตัวกลมเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อ 1 ชิ้น ดูแลเหมือนหนวดขนาดสั้น เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินแวววาวอมเขียว ด้านบนมีสีคล้ำเล็กน้อย ข้างแก้มมีแต้มสีเหลือง ครีบจางใส ครีบหลังสูง ก้านครีบอันใหญ่สุดมีจักละเอียดที่ขอบด้านท้าย มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินตะไคร่น้ำตามก้อนหินใต้พื้นน้ำและโขดหิน พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ไหลแรงและสะอาดในหลายประเทศ เช่น ตอนใต้ของจีน, เวียดนาม, ลาว ในประเทศไทยพบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตาก[3] และยังมีรายงานพบที่เกาะไหหลำและฮ่องกงอีกด้วย โดยตัวอย่างต้นแบบแรกถูกส่งมาจากฮ่องกงไปยังจีนเพื่อทำการอนุกรมวิธานมีการจับขายเป็นปลาสวยงาม แต่พบได้น้อยและเลี้ยงดูยากมาก[2]