ความคุ้มครองทางกฎหมายและการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ของ ปลาฉลามปากเป็ด

ในปัจจุบันมีการคุ้มครองโดยกฎหมายในระดับนานาชาติ โดยเป็นสัตว์ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยห้ามส่งออกหรือนำเข้าโดยปราศจากใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[6][7] แม้ปลาฉลามปากเป็ดเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง โดยสูญพันธุ์ไปแล้วในพื้นที่ 4 รัฐของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และการสร้างเขื่อนขวางกั้นแหล่งน้ำที่ปลาจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ ซึ่งการทำบันไดปลาโจนไม่สามารถใช้ได้กับปลาฉลามปากเป็ด อีกทั้งการลักลอบจับด้วยเนื่องจากมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากปลาไม่สามารถวางไข่ได้ก็จะแก่ตัวลงและตายไปตามอายุขัย[3] แม้ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วด้วยวิธีการผสมเทียม[3] และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย แต่เลี้ยงให้รอดได้ยากมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบกระโดด อ่อนไหวง่ายกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำ อีกทั้งระบบเผาผลาญอาหารในร่างกายก็เป็นไปอย่างรวดเร็วด้วย จึงเป็นปลาที่ต้องกินอาหารอยู่แทบตลอดเวลา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปลาฉลามปากเป็ด http://www.nicaonline.com/articles8/site/view_arti... http://www.nicaonline.com/articles8/site/view_arti... http://www.fishbase.org/summary/speciessummary.php... http://www.fisheriessociety.org/AFSmontana/Paddlef... http://www.iucnredlist.org/details/17938/0 http://std.kku.ac.th/4930403465/f24.htm http://www.dnp.go.th/wffp/law/law_files/prakart.pd... https://www.youtube.com/watch?v=Nonyb7Oci08 https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Polyod...