การอนุรักษ์ ของ ปลาฉลามหัวค้อนหยัก

ใน พ.ศ. 2564 ฉลามหัวค้อนหยักได้รับการจัดสถานะในระดับ "เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์" โดย IUCN Red List[4] โดยอ้างถึงการทำประมงเกินขนาดและการบริโภค ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้จำนวนประชากรฉลามหัวค้อนหยักลดลง[5] ฉลามหัวค้อนหยักถูกจับมากมีสาเหตุจากขนาดและมีครีบขนาดใหญ่ ซึ่งครีบของมันมี "ปริมาณเส้นหูฉลามสูง"[6]

ความพยายามในการอนุรักษ์ฉลามหัวค้อนหยัก (Sphyrna lewini) ได้แก่

  • การใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมจากครีบที่ซื้อจากตลาดฮ่องกงเพื่อระบุตำแหน่งที่ถูกจับและติดตามระดับการจับฉลามหัวค้อนหยักในแต่ละน่านน้ำ[7]
  • การปกป้องแหล่งอนุบาลตัวอ่อนในธรรมชาติ ฉลามหัวค้อนหยักมักกลับสู่แหล่งกำเนิดเดิมเพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งลูกฉลามหัวค้อนหยักจะใช้ชีวิตปีแรกในพื้นที่อนุบาลริมชายฝั่งเหล่านี้ ก่อนที่พวกมันจะออกสู่ทะเลเปิด[8]
  • เขตห้ามจับฉลามในพื้นที่เหล่านี้บางแห่ง เช่น คาบสมุทรยูกาตันตะวันตกในช่วงฤดูผสมพันธุ์เพื่อปกป้องฉลามหัวค้อนที่มีอายุน้อย[9]

จากการศึกษาในบางส่วนของมหาสมุทรแอตแลนติกประชากรของพวกเขาลดลงกว่าร้อยละ 95 ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา สาเหตุของการลดลงคือการทำประมงเกินขนาด และความต้องการหูฉลามที่เพิ่มขึ้น นักวิจัยระบุว่าการเพิ่มขึ้นของความต้องการหูฉลามซึ่งเป็นอาหารอันโอชะราคาแพง (เช่น ซุปหูฉลาม) และใน พ.ศ. 2551 ได้เรียกร้องให้มีการห้ามการตัดเฉพาะหูฉลาม (shark finning) ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติในการตัดหูฉลามออกและโยนส่วนที่เหลือของฉลามกลับลงไปในทะเลให้ตาย

ฉลามหัวค้อนชนิดต่าง ๆ เป็นหนึ่งในปลาฉลามที่ถูกจับได้บ่อยที่สุดสำหรับการนำไปบริโภคครีบ (หูฉลาม)[10] เนื่องจาก "ฉลามหัวค้อนมีแนวโน้มรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ ทำให้การจับเป็นจำนวนมากด้วยเบ็ดราว อวนลอยหน้าดิน และอวนลากทำได้ง่ายขึ้น"[11] ทั่วโลกปลาฉลามหัวค้อนถูกจับปลามากเกินไปเพราะครีบและน้ำมันตับของพวกมัน ในปี 2563 มีการประมาณจำนวนครีบที่ถูกจับตัดถึง 1.3–2.7 ล้านครีบในแต่ละปีจากฉลามหัวค้อนเรียบ (S. zygaena) และปลาฉลามหัวค้อนหยักเพื่อการค้าครีบฉลาม (หูฉลาม)[12]

ในวารสารเนเจอร์ เดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งศึกษาปลาฉลามและปลากระเบน 31 ชนิดพบว่า จำนวนสายพันธุ์เหล่านี้ที่พบในมหาสมุทรเปิดลดลงร้อยละ 71 ในรอบ 50 ปี ซึ่งปลาฉลามหัวค้อนหยักถูกรวมอยู่ในการศึกษา[13][14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปลาฉลามหัวค้อนหยัก http://australianmuseum.net.au/Scalloped-Hammerhea... http://www.foodnetworksolution.com/vocab/word/3479 http://www.redorbit.com/news/science/1259813/hamme... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32691418 //doi.org/10.1111%2Fj.1755-263X.2008.00046.x //doi.org/10.1111%2Fjfb.14471 //doi.org/10.3354%2Fesr00241 http://www.siamensis.org/taxonomy/term/1457/0 //www.worldcat.org/issn/1095-8649 //www.worldcat.org/issn/1755-263X