ปลาซิวเจ้าฟ้า
ปลาซิวเจ้าฟ้า

ปลาซิวเจ้าฟ้า

ปลาซิวเจ้าฟ้า หรือ ปลาซิวเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amblypharyngodon chulabhornae อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีสีโปร่งใส เห็นแกนดำของกระดูกสันหลังชัดเจน ตาโต หลังค่อม ท้องเป็นสีเงินแวววาว บริเวณส่วนหัวด้านบนมีสีเขียวเหลือบทองมีความยาวเต็มที่ 4 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ของภาคเหนือ ภาคกลาง และพบโดยมากในภาคอีสานของประเทศไทย กินตัวอ่อนของแมลงน้ำ และพืชหรือตะไคร่น้ำ เป็นอาหารเป็นปลาที่ใช้บริโภคในท้องถิ่น มีรสชาติไม่ขม จึงนิยมทำเป็นปลาจ่อม มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "ปลาแตบแก้ว" เป็นปลาที่เพิ่งค้นพบใหม่ในปี พ.ศ. 2533 ที่บึงบอระเพ็ด และให้ชื่อสายพันธุ์เพื่อถวายเป็นพระเกียรติแด่ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีนอกจากนี้แล้วยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[1][2]