การค้นพบ ของ ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย

เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1997 อาร์นาซ และมาร์ค เอิร์ดมันน์ ได้ท่องเที่ยวไปในอินโดนีเซียในการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของเขา เขาพบปลาตัวแปลก ๆ เข้าไปในตลาดที่เมืองมานาโด บนเกาะซูลาเวซี[2] มาร์คคิดว่าเป็นปลา “กอมเบสซา” (ปลาซีลาแคนท์จากคอโมโรส) แม้ว่ามันไม่เป็นสีน้ำเงินแต่กลับเป็นสีน้ำตาล ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งได้พิจารณาภาพถ่ายในอินเทอร์เน็ตของเขาแล้วให้ความเห็นว่ามันมีลักษณะที่มีนัยสำคัญ หลังจากนั้นคู่สามีภรรยาเอิร์ดมันน์ได้ติดต่อกับชาวประมงในท้องที่และได้ร้องขอว่าหากจับปลาลักษณะดังกล่าวได้อีกขอได้โปรดส่งให้เขา ตัวอย่างที่สองจากอินโดนีเซียมีความยาว 1.2 เมตรและมีน้ำหนัก 29 กิโลกรัมถูกจับได้ขณะยังมีชีวิตอยู่เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1998[3] มันมีชีวิตอยู่ได้ 6 ชั่วโมง ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกภาพลักษณะของสี การเคลื่อนที่ของครีบ และพฤติกรรมอื่น ๆ ทั่วไป ตัวอย่างปลาถูกเก็บรักษาไว้และบริจาคให้พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาโบกอร์ (MZB) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งอินโดนีเซีย (LIPI)[2]

ผลการตรวจสอบดีเอ็นเอชี้ชัดว่าตัวอย่างปลามีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับปลาซีลาแคนท์คอโมโรสอย่างชัดเจน[4][5] เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้วปลาซีลาแคนท์จากอินโดนีเซียซึ่งในท้องที่เรียกกัน ว่า "ราชาลีเจา" (หมายถึงเจ้าแห่งทะเล[1]) มีลักษณะที่เหมือนกันกับที่พบในคอโมโรสยกเว้นที่สีผิวที่เป็นสีเทาแกมสีน้ำตาลแทนที่จะเป็นสีน้ำเงิน ปลาชนิดนี้ถูกบรรยายรูปพรรณไว้ในวารสาร Comptes Rendus de l'Académie des sciences Paris ใน ค.ศ. 1999 โดย โพยูลด์และคณะ และถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ลาติเมอเรีย เมนาโดเอนซิส (Latimeria menadoensis)[6] ผลการศึกษาทางโมเลกุลประมาณการได้ว่าช่วงเวลาที่เกิดการแตกแขนงเป็นปลาซีลาแคนท์ 2 ชนิดนั้นอยู่ที่ประมาณ 40-30 ล้านปีมาแล้ว[7] โดยปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 2 เมตร น้ำหนักกว่า 90 กิโลกรัม[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย http://cuptv.com/play/3227/103167/%E0%B8%9B%E0%B8%... http://www.springerlink.com/content/u5143r02v5u713... http://www.washingtonpost.com/wp-srv/national/hori... http://www.youtube.com/watch?v=706FDbri2M4 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15777665 //doi.org/10.1016%2FS0764-4469(99)80061-4 //doi.org/10.1016%2Fj.gene.2005.01.008 //doi.org/10.1023%2FA:1007584227315 //doi.org/10.1073%2Fpnas.96.22.12616 http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?New...