การเลี้ยง ของ ปลาตะพัด

ปลาตะพัดนับว่าเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงาม มีเกล็ดขนาดใหญ่ และมีสีสันแวววาวมีหนวดซึ่งมีลักษณะคล้าย "มังกร" นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเชื่อต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับปลาตะพัด โดยชาวจีนเชื่อว่าผู้ใดเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้วจะร่ำรวยมีโชคลาภ จึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง

ตะพัดเขียวบลัดเรดทองอินโดนีเซียทองมลายูเกล็ดของปลาตะพัด

สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง

แอโรวานาเขียว (Green Arowana) เป็นปลาที่มีสีเงินขุ่นทั้งตัว อาจมีเหลือบสีฟ้า]]หรือเขียวอ่อน ปลายครีบหางเมื่อโตเต็มที่แล้วเป็นสีขาว ขณะยังเป็นลูกปลาครีบต่าง ๆ จะใส ขณะที่ตามลำตัวจะมีสีดำแซมอยู่ระหว่างเกล็ด พบกระจายพันธุ์ในประเทศไทยและกัมพูชา รวมถึงบางส่วนในมาเลเซีย

แอโรวานาแดงอินโดนีเซีย (Super Red) เป็นปลาที่มีสีแดงสดทั้งตัว ทั้งครีบและหาง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ในแถบทะเลสาบขนาดเล็กในป่าบริเวณรอบ ๆ ทะเลสาบเซินตารุมทางตอนบนซึ่งต่อเชื่อมกับแม่น้ำกาปูวัซในจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีค่าความเป็นกรดค่อนข้างต่ำ (pH น้อยกว่า 5.5) จัดเป็นสายพันธุ์ที่มีราคาสูงรองลงมาจากอะโรวาน่าทองมลายู

ในตัวที่มีสีแดงตัดขอบเกล็ดคมชัดเจน เรียกว่า ชิลลีเรด (Chili Red) ตัวที่มีสีแดงทั้งตัว เรียกว่า บลัดเรด (Blood Red) หรือในบางตัวมีเหลือบสีม่วงในเกล็ด เรียกว่า ไวโอเลตฟิวชัน (Violet Fusion) ทั้งนี้สีปลาอ่อนหรือเข้มขึ้นอยู่กับตัวปลาเองและผู้เลี้ยง

นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน โดยพบในประเทศอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน แต่พบคนละแหล่งน้ำ คือ เรด บี (Red B) หรือ บันจาเรด (Banja Red) (แต่ปัจจุบันถูกเรียกว่า เรดแอโรวานา) ซึ่งเมื่อยังเล็กจะมีสีแดงสดเหมือนปลาแอโรวานาแดงอินโดนีเซียทั่วไป แต่เมื่อโตขึ้นสีจะซีดลง จนเกล็ดมีเพียงสีเงินเหลือบเหลืองอ่อน ๆ สีครีบและหางเป็นสีเหลืองปนส้มเท่านั้น แลดูคล้ายปลาทองอ่อน และเป็นปลาที่มีราคาต่ำกว่า

ปัจจุบัน ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาแอโรวานาทองมลายู เป็นปลาลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ทั้ง 2 ที่มีสีทองแดง เรียกว่า เรดสเปลนเดอร์ (Red Splendor)

อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาแอโรวานาแดงอินโดนีเซียแยกออกมาต่างหาก โดยเรียกว่า Scleropages legendrei แต่ชื่อนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับเป็นสากลเท่าที่ควร

แอโรวานาทองอินโดนีเซีย (Red Tail Golden Arowana) เป็นปลาที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงมาก หากเทียบกับสายพันธุ์อื่นที่พบในเอเชียด้วยกัน อีกทั้งมีความสวยงามมีสีทองเข้ม ครีบอก กระโดงต่าง ๆ และหาง มีสีแดงสด ด้วยเหตุนี้ จึงมีชื่อเรียก ว่า Red Tail Golden (นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า RTG) ครีบหลังและหางส่วนบนจะมีสีแดงคล้ำปนดำ บนหลังจะมีเกล็ดสีดำ เกล็ดสีทองจะมีขึ้นมาถึงเกล็ดแถวที่ 4 และอาจจะมีขึ้นประปรายบ้างบนแถวที่ 5 เรียกว่า ไฮแบ็ก (High Back) ปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาแอโรวานาทองมลายูจนได้สายพันธุ์ปลาพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่าไฮแบ็กมากขึ้น โดยเกล็ดเงางามขึ้น และเกล็ดเปิดถึงแถวที่ 5 ได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้แล้วยังมีสายพันธุ์ที่สีอ่อนกว่า เมื่อเล็กมีลักษณะคล้ายปลาตะพัดหรือปลาแอโรวานาเขียวมาก โตขึ้นครีบมีสีใสและเกล็ดเป็นสีเงินปนเหลืองอ่อน ๆ เรียกว่า "ทองอ่อน" และตัวใดที่ครีบมีสีเหลืองเข้มขึ้นมาหน่อย ก็จะถูกเรียกว่า "ทองหางเหลือง" (Yellow Tail) เป็นต้น

เป็นปลาที่พบในประเทศอินโดนีเซีย บริเวณบอร์เนียวเหนือและเกาะสุมาตรา และส่วนของทางหางเหลืองก็อยู่ในแหล่งน้ำที่ต่างจากทองอินโดนีเซีย

อนึ่ง ในปี ค.ศ. 1994 มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของแอโรวานาทองอินโดนีเซียแยกออกมาต่างหากว่า Scleropages aureu ส่วนทองหางเหลืองก็ได้มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์แยกออกมาอีกว่า Scleropages macrocephalus ในปี ค.ศ. 2003[2]

แอโรวานาทองมลายู (Malayan Bonytongue, Cross Back) ที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศมาเลเซีย แถบรัฐปะหัง เปรัก และมาเลเซียตะวันตก เป็นสายพันธุ์ของปลาอะโรวาน่าที่มีราคาแพงที่สุด โดยอาจมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท เนื่องจากเป็นปลาที่มีสีทองสดใสที่สุด เกล็ดมีความเงางามมาก เมื่อปลาโตเต็มวัยจะมีสีทองจะเปิดสูงข้ามบริเวณส่วนหลัง จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า ครอสแบ็ก (Cross Back)

อีกทั้งในบางตัวยังมีฐานสีที่บริเวณเกล็ดเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงินเรียกว่า บลูเบส (Blue Base) ในบางตัวที่มีฐานเกล็ดเป็นสีเขียวเรียกว่า กรีนเบส (Green Base) ในขณะที่ตัวที่มีสีทองเหลืองอร่ามทั้งตัวโดยไม่มีสีอื่นปะปนจะเรียกว่า ฟูลโกลด์ (Full Gold)

เมื่อเทียบกับปลาตะพัดสายพันธุ์อื่น ๆ จะพบว่าแอโรวานาทองมลายูเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด อีกทั้งครีบและหางเล็กกว่า แต่มีสีสันที่สวยที่สุด

ไฮแบ็ก (Hight Back) เป็นปลาลูกผสมระหว่างทองอินโดนีเซียกับทองมลายู ทำให้ลูกปลาที่เกิดออกมามีส่วนเด่นของทั้งสองสายพันธุ์ คือ มีเกล็ดที่แวววาวกว่าทองอินโดทั่วไปและสีทองของเกล็ดจะเปิดถึงแถวที่ 5 มากกว่าทองอินโดปกติ