นิเวศวิทยา ของ ปลาตะเกียง

โดยปกติแล้วช่วงตอนกลางวันพวกมันจะอยู่บริเวณน้ำลึกประมาณ300 และ 1,500 เมตร (980 และ 4,920 ฟุต) แต่พอตกเย็นพวกมันจะขึ้นมาอยู่ที่บริเวณน้ำลึกระหว่าง 10 ถึง 100 เมตร (33 และ 328 ฟุต)เพื่อหลบหนีการไล่ล่าจากนักล่าอีกทั้งเพื่อมาหาอาหารเช่นแพลงค์ตอน พอเริ่มเช้าพวกมันก็จะกลับลงไปที่ทะเลลึกเหมือนเดิม[2]

ความหลากหลายของรูปแบบการย้ายถิ่นเกิดขึ้นแค่กับบางชนิดเท่านั้นปลาตะเกียงที่อาศัยอยู่ลึกมาก ๆ อาจไม่มีการโยกย้ายใด ๆ ในขณะที่บางชนิดอาจทำเช่นนั้นเป็นระยะ ๆ รูปแบบการย้ายนั้นอาจจะขึ้นกับช่วงอายุ,เพศและฤดู

การเรียงตัวของอวัยวะเรืองแสง(photophores)นั้นจะแตกต่างกันตามชนิดซึ่งนั้นทำให้สื่อสารและหาคู่ผสมพันธุ์ได้ อีกทั้งพวกมันยังสามารถใช้แสงในการลวงตานักล่าได้ด้วยการควบคุมความสว่างของแสงนั้นให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นเอง

ปลาตะเกียงนั้นเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมากและยังเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งมันจะเป็นเหยือของวาฬ,โลมา,ฉลาม,นกทะเลและอื่น ๆ อีกมากโดยปกติแล้วพวกมันกินแพลงค์ตอนเป็นอาหารแต่จากการศึกษาสำไส้ของพวกมันได้พบว่าพวกมันกินพลาสติกหรือขยะที่มนุษย์ทิ้งลงมาในทะเลอีกด้วย[4]