ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง
ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง

ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง

ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขง หรือ ปลาปักเป้าบึง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pao brevirostris[2]) เป็นปลาปักเป้าน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodonidae)ปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขงมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาปักเป้าดำ (P. cochinchinensis) และปลาปักเป้าจุดแดง (P. abei) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันที่จุดที่ข้างลำตัวจะไม่มีจุดที่กลมใหญ่เหมือนรูปดวงตาในปลาขนาดใหญ่ (แต่ในปลาขนาดเล็ก อาจจะยังมีอยู่) แต่จะมีลักษณะเป็นวงดำ โดยสีทั่วไปเป็นสีคล้ำบนพื้นสีเขียวขี้ม้า มีดวงตาสีแดง และมีแนวของเกล็ดฝอยขนาดเล็กบนผิวหนังที่เป็นลักษณะสาก คลุมลงมาแค่ระหว่างดวงตา แต่ไม่ถึงบริเวณช่องจมูก ด้านท้องมีจุดเล็กเป็นแต้ม ๆ ตัวเมียมีสีจางกว่าตัวผู้มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 8-10 เซนติเมตร พบเฉพาะในลุ่มแม่น้ำโขงเท่านั้น ตั้งแต่จังหวัดหนองคาย, อุดรธานี, บึงกาฬ พบอาศัยอยู่ในน้ำตื้นของแหล่งน้ำนิ่ง พบได้ตลอดทั้งปี เช่น หนอง หรือบึง ที่มีน้ำใสสะอาดมีพืชน้ำ และชายฝั่งมีต้นไม้น้ำขึ้นหนาแน่นปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขงได้รับการอนุกรมวิธานโดยภาสกร แสนจันแดง, ชวลิต วิทยานนท์ และชัยวุฒิ กรุดพันธ์ นักมีนวิทยาชาวไทย จากการศึกษาวิจัยร่วมกันในเรื่องปลาปักเป้าน้ำจืดในสกุลเดียวกันนี้ในลุ่มแม่น้ำโขง 6 ชนิด ซึ่งปลาปักเป้าดำแม่น้ำโขงนั้นเป็นรู้จักกันมานานไม่ต่ำกว่า 20 ปีแล้ว โดยปะปนไปกับปลาปักเป้าชนิดอื่น ๆ และเพิ่งถูกแยกออกมาต่างหากเมื่อปี ค.ศ. 2013 โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tetraodon palustris ซึ่งคำว่า palustris เป็นภาษาละติน หมายถึง "หนอง, บึง" อันเป็นแหล่งอาศัยนั่นเอง[3] แต่ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน มอริส ก็อตลา นักมีนวิทยาชาวสวิสได้ศึกษาปลาปักเป้าน้ำจืดใหม่จึงพบว่า เป็นปลาปักเป้าที่มีผู้ได้อนุกรมวิธานไว้แล้ว และได้ตั้งชื่อสกุลให้ใหม่ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[2]

ใกล้เคียง

ปลาปักเป้าจุดดำ ปลาปักเป้ายักษ์ ปลาปักเป้าแคระ ปลาปักเป้าจมูกแหลม ปลาปักเป้าหนามทุเรียน ปลาปักเป้าขน ปลาปักเป้าทอง ปลาปักเป้าอ้วน ปลาปักเป้าจุดส้ม ปลาปักเป้าเอ็มบู