ปลาเข็มหม้อ
ปลาเข็มหม้อ

ปลาเข็มหม้อ

ปลาเข็มหม้อ (อังกฤษ: Wrestling halfbeak, Malayan halfbeak, Pygmy halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys pusilla ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีรูปร่างเรียวยาว ริมฝีปากล่างคือส่วนที่ยื่นยาวออกมาเหมือนปลายเข็ม อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนริมฝีปากบนมีขนาดเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมใช้สำหรับจับเหยื่อและต่อสู้ป้องกันตัวระหว่างปลาพวกกันเดียวเอง โดยใช้ปากกัดขบกันเรียกว่า"ติดบิด"ตัวที่มีริมฝีปากบนขนาดใหญ่และกรามแข็งแรงกว่าจะได้เปรียบส่วนปากล่างที่เป็นรูปคล้ายเข็มนั้นไม่ได้ใช้ทิ่มแทงในการต่อสู่แต่อย่างใดปัจจุบันมีบ่อนกัดปลาเข็มถูกต้องตามกฎหมายน้อยมากนิยมเลี้ยงกัดพนันในจังหวัดภาคตะวันออกคือระยองมีปลาเข็มหม้อที่อำเภอประแสร์เป็นตำนานปลาเก่งของภาคตะวันออกมีบ่อนผูกทุกวันเสาร์ที่จังหวัดตราดมีปลาจากจันทบุรีและเกาะช้างข้ามมาประลองเป็นประจำ สนามกัดปลาเข็มมาตรฐานนั้นยังคงเป็นกระถางเขียวซึ่งเป็นกระถางเคลือบจากเมืองจีนอายุเกินร้อยปีดั้งเดิมที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
มีครีบอกขนาดใหญ่และแข็งแรง ทำให้สามารถกระโดดจับแมลงที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นอาหารได้ นอกจากนี้แล้วยังมีสายตาที่แหลมคม สามารถมองเห็นวัตถุที่เหนือน้ำได้ดีกว่าปลาชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่กันเป็นฝูง ๆ ประมาณ 8-10 ตัว โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงเพียงตัวเดียว ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละไม่เกิน 30 ตัวเป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบได้ตามแหล่งน้ำนิ่งเช่น ท้องร่วงสวนผลไม้ทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่บังกลาเทศจนถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซียปลาเข็มชนิดนี้ คนไทยนิยมเพาะเลี้ยงกันมานานแล้วเพื่อใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อการพนัน คล้ายกับปลากัด โดยจะเพาะเลี้ยงกันในหม้อดินจึงเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" โดยจะมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่กว่าปลาที่พบในธรรมชาติ สำหรับปลาที่ออกสีขาวจะเรียกว่า "ปลาเข็มเผือก" หรือ "ปลาเข็มเงิน" และปลาที่มีสีออกสีทองจะเรียกว่า "ปลาเข็มทอง" [1]