ปลาแป้นแก้ว

ปลาแป้นแก้ว (อังกฤษ: Siamese glassfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Parambassis siamensis) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแป้นแก้ว (Ambassidae)มีลำตัวตัวใสหรือสีขาวคล้ายสีข้าวเม่า มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบแข็งเป็นหนานแหลมอยู่ 7 ก้าน ครีบหลังอันที่สองมีเฉพาะก้านครีบฝอย ครีบก้นมีก้านครีบที่เป็นหนานแหลมอยู่ 3 ก้าน มีเกล็ดกลมบางใสและหลุดง่าย ลักษณะเนื้อโปร่งใสจนมองเห็นอวัยวะภายใน ตามลำตัวมีจุดสีดำอยู่ทั่วไป มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำทั่วไป พบกระจายพันธุ์ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย, ลาว , กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำและแมลงขนาดเล็กเป็นปลาที่หากินในเวลากลางคืน มักจับได้ในปริมาณทีละมาก ๆ โดยใช้แสงไฟล่อเพื่อให้ปลามากินแมลงบนผิวน้ำ นิยมใช้บริโภคกันในท้องถิ่น อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยการฉีดสีเข้าไปในตัวปลาเป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีน้ำเงิน, สีเหลือง, สีส้ม หรือสีแดง เพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ปลาเรนโบว์" รือ "ปลาสายรุ้ง" ซึ่งสีเหล่านี้ก็จะจางและซีดลงไปเองตามเวลายังมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น "ปลาข้าวเม่า" หรือ "คับของ" หรือ "แว่น" ในภาษาเหนือ เป็นต้น[1] [2]