มาตรการอื่นที่ใช้ในการวัด ของ ปัจจัยกระทบ

ขั้นตอนวิธีการเพจแรงก์

เมื่อปี พ.ศ. 2519 กาเบรียล ปินสกี และ ฟรานซิส นารินแนะให้ใช้ปัจจัยกระทบเวียนกลับ (recursive impact factor) สำหรับบทความวิชาการที่มีปัจจัยกระทบที่มีน้ำหนักมาก ปัจจัยกระทบเวียนกลับดังกล่าวคล้ายคลึงกับขั้นตอนวิธีเพจแรงก์ (PageRank algorithm) ที่ใช้กับโปรแกรมค้นหาของกูเกิล แม้บทความดั้งเดิมของปินสกี และ นารินจะใช้การเข้าถึงปัญหาด้วยการใช้ "ดุลการค้า" ที่ว่าวารสารที่มีค่าปัจจัยกระทบสูงสุดก็เพราะถูกอ้างอิงมากที่สุด แต่วารสารนั้นเองกลับอ้างอิงวารสารอื่นน้อยมากหรือเกือบไม่มีเลย ผู้เขียนบทความขยายผลที่ต่อเนื่องจากบทความที่ได้ปัจจัยกระทบสูงสุดดังกล่าวจำนวนหลายคน ได้เสนอให้ใช้วิธีการเข้าสู่การวางอันดับวารสารวิชาการให้มีความสัมพันธ์กันด้วย เมื่อ พ.ศ. 2549 โยฮาน โบลเลน มาร์โก เอ. โรดิเกสและเฮอร์เบิร์ต แวน เดอ โซมเพลในแนะให้ใช้ขั้นตอนวิธีเพจแรงก์เช่นกัน บทความของกลุ่มนี้เป็นดังตารางข้างล่างนี้:

ปัจจัยกระทบ ISIเพจแรงก์รวม
152.28ANNU REV IMMUNOL16.78เนเจอร์ (Nature)51.97เนเจอร์
237.65ANNU REV BIOCHEM16.39วารสารสาขาชีวเคมี48.78ไซแอนซ์
336.83PHYSIOL REV16.38ไซแอนซ์ (Science)19.84วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์
435.04NAT REV MOL CELL BIO14.49Proceedings of the National Academy of Sciences15.34เซลล์ (Cell)
534.83วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์8.41Physical Review Letters14.88Proceedings of the National Academy of Sciences
630.98เนเจอร์5.76เซลล์10.62วารสารสาขาชีวเคมี
730.55เนเจอร์เมดิซีน (Nature Medicine)5.70วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์8.49Journal of the American Medical Association
829.78ไซแอนซ์4.67วารสารสมาคมเคมีอเมริกัน7.78The Lancet
928.18NAT IMMUNOL4.46J IMMUNOL7.56NAT GENET
1028.17REV MOD PHYS4.28Applied Physics Letters6.53เนเจอร์เมดิซีน

ตารางข้างต้นแสดงให้เห็นวารสารวิชาการที่อยู่ใน 10 อันดับที่จัดโดยปัจจัยกระทบ ISI, เพจแรงก์ และโดยระบบที่ปรับรวมแล้ว (ข้อมูล พ.ศ. 2546) เนเจอร์ และ ไซแอนซ์ ซึ่งได้รับการนั้น แต่เมื่อเข้าระบบรวมก็จะออกมาที่อันดับสูงสุดดังที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์อาจเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นความแตกต่างของลำดับ คือ 5 และ 7 ในระบบ ISI และเพจแรงก์ตามลำดับ ได้ขึ้นเป็นอันดับ 3 เมื่อคำนวณด้วยระบบรวม

ปัจจัยไอเก็น (Eigenfactor) นับเป็นเพจแรงก์อีกประเภทหนึ่งที่ใช้วัดบทบาทและอิทธิพลของวารสารวิชาการ สามารถดูการจัดอันดับโดยปัจจัยไอเก็นดังกล่าวนี้ได้ที่เว็บไซต์ eigenfactor.org[2]

ดัชนีเอช: ผลกระทบของนักวิทยาศาสตร์รายบุคคล

ปัจจัยกระทบเพื่อใช้กับตัวนักวิทยาศาสตร์ได้แก่ ดัชนีเอช (H-index) หรือ "เลขเฮิร์ส" (Hirsch number) ของนักวิทยาศาสตร์และประวัติการถูกอ้างอิง โดยถ้านักวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์บทความจำนวน n เรื่องและหลายๆ เรื่องได้รับการอ้างอิงรวมได้ n ครั้ง ดัชนีเอชของนักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นจะได้ค่าเท่ากับ n ดัชนีเอชมุ่งไปที่ผลกระทบของตัวนักวิทยาศาสตร์มากกว่าตัววารสาร บทความว่าด้วย ดัชนีเอชได้ปรากฏในวารสารเนเจอร์ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ โปรแกรมออนไลน์ของดัชนีเอชอาจดูได้จาก calculate a scientist's H-index[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปัจจัยกระทบ http://bmj.bmjjournals.com/cgi/content/full/314/70... http://www.harzing.com/pop.htm http://www.nature.com/doifinder/10.1038/439770a http://scientific.thomson.com/free/essays/journalc... http://thomsonscientific.com/knowtrend/essays/jour... http://www.brics.dk/~mis/hnumber.html http://cshe.berkeley.edu/publications/docs/scholar... http://www.nel.edu/20_12/nel20_12%20Guest%20Editor... http://citeseer.ist.psu.edu/impact.html http://web.utk.edu/~gwhitney/sigmetrics.html