ประวัติ ของ ปั้นชา

ปั้นชาที่ใช้เล่นกันในไทย ส่วนมากผลิตจากเมืองงี่เฮ็ง (เมืองอี๋ซิง 宜興市) มณฑลเกียงซู (มณฑลเจียงซู 江蘇省) ซึ่งมีดินที่ละเอียด เนื้อแข็งดีกว่าที่อื่น ส่วนใหญ่ผลิตปั้นชาเป็น3สี คือ 1สีตับหมู (กัวเซ็ก 肝色) 2สีส้มสุก (กาเซ็ก 橙色) 3สีแดงเข้ม (จูซาอั๋ง 硃砂紅) ส่วนสีขาวกับสีสวาดเป็นของที่ไทยสั่งให้ทำ ส่วนใหญ่ผลิตขายให้แต้จิ๋วและฮกเกี้ยน เพราะเมืองอื่นไม่ใช้ปั้นในการชงชา แต่แต้จิ๋วและฮกเกี้ยนใช้ปั้นชาในการชิมรศน้ำชา ไทยจึงได้รับคติการใช้ปั้นชามาจากแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน

ปั้นชาที่ไทยเล่นนั้น มี2ประเภท คือ 1ปั้นหู 2ปั้นสาย ที่ต่างกับจีนคือ จีนนิยมเล่นปั้นผิวด้าน และไม่เลี่ยมปั้น แต่ไทยนิยมขัดชักเงา (เฉพาะปั้นสีดำและสีขาว) และเลี่ยมปั้นด้วยทองบ้าง เงินบ้าง ทองเหลืองบ้าง

ปั้นในไทยที่เล่นกำหนดไว้3ประเภทคือ

  1. ปั้นจีน คือปั้นที่จีนคิดสร้างรูปทรง
  2. ปั้นไทย หรือ ปั้นอย่าง คือปั้นที่ไทยคิดรูปทรงและสั่งออกไปทำที่เมืองจีน
  3. ปั้นตลก คือปั้นที่ทำไม่มีรูปทรงตายตัว ผิดรูปจากปั้นอื่น[1]