ปากแหว่ง ของ ปากแหว่งเพดานโหว่

ถ้ารอยแยกนั้นไม่ถึงส่วนเพดานปาก จะเรียกความผิดปกตินี้ว่า ปากแหว่ง หากเกิดที่ด้านบนของริมฝีปากในลักษณะช่องว่างเล็กๆ หรือเว้าเล็กน้อยเรียกว่า ปากแหว่งไม่สมบูรณ์ หรือปากแหว่งบางส่วน (partial or incomplete cleft) แต่หากรอยแยกนี้ต่อเนื่องไปถึงจมูกเรียกว่า ปากแหว่งสมบูรณ์ (complete cleft) ปากแหว่งอาจเกิดข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ปากแหว่งมีสาเหตุจากการเชื่อมของขากรรไกรบนและส่วนยื่นจมูกด้านใกล้กลาง (medial nasal processes) เพื่อเป็นเพดานปากปฐมภูมิ (primary palate) ไม่สมบูรณ์

  • ปากแหว่งข้างเดียวไม่สมบูรณ์ (Unilateral incomplete)
  • ปากแหว่งข้างเดียวสมบูรณ์ (Unilateral complete)
  • ปากแหว่งสองข้างสมบูรณ์ (Bilateral complete)

ปากแหว่งรูปแบบหนึ่งเรียกว่า microform cleft ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่า มีลักษณะเป็นรอยเล็กๆ บนริมฝีปากหรือมีลักษณะคล้ายแผลเป็นจากริมฝีปากไปยังจมูก ในบางรายกล้ามเนื้อหูรูดปากใต้แผลเป็นนั้นอาจผิดปกติซึ่งต้องได้รับการผ่าตัด ทารกที่เกิดมามีความผิดปกติดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการประเมินความรุนแรงจากแพทย์ด้านใบหน้าและปากทันที

  • เด็กชายอายุ 3 เดือนปากแหว่งข้างเดียวไม่สมบูรณ์ ก่อนได้รับการผ่าตัด
  • เด็กชายคนเดียวกัน 1 เดือนหลังจากผ่าตัด
  • เด็กชายคนเดียวกันอายุ 1 ปี 5 เดือน สังเกตว่าแผลเป็นจะดูจางลงตามอายุ
  • เด็กหญิงอายุ 6 เดือนปากแหว่งข้างเดียวสมบูรณ์ ก่อนได้รับการผ่าตัด
  • เด็กหญิงคนเดียวกัน 1 เดือนหลังจากผ่าตัด
  • เด็กหญิงคนเดียวกัน อายุ 5 ปี 4 เดือน สังเกตว่าแผลเป็นจะดูจางลงตามอายุ
  • เด็กหญิงคนเดียวกัน อายุ 8 ปี สังเกตว่าแผลเป็นเกือบจะหายสนิท

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปากแหว่งเพดานโหว่ http://161.200.102.195/hospital/index.php?option=c... http://www.diseasesdatabase.com/ddb29414.htm http://www.diseasesdatabase.com/ddb29604.htm http://www.emedicine.com/ped/topic2679.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=749 http://www.wrongdiagnosis.com/c/cleft_palate/stats... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10749049 http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://www.childrenshospital.org/az/Site2034/mainp...