ประวัติศาสตร์ ของ ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

ภาพรวม

ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น หมายถึงช่วงเวลาการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งสองจนถึงทศวรรษ 1990 การเติบโตอย่างรวดเร็วในครั้งนี้สามารถแบ่งออกเป็นสี่ระยะ ได้แก่ ระยะการฟื้นตัว (ค.ศ. 1946–1954) ระยะการเติบโตอย่างรวดเร็ว (ค.ศ. 1955–1972) ระยะการเติมโตคงที่ (ค.ศ. 1972–1992) และระยะภาวะเศรษฐกิจถดถอย (ค.ศ. 1992–2017) [6]

แม้ว่าญี่ปุ่นจะได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิและถูกฝ่ายสัมพันธมิตรปูพรมทิ้งระเบิดจำนวนมหาศาล แต่ญี่ปุ่นก็สามารถฟื้นตัวจากบาดแผลทางจิตใจในสงครามโลกครั้งที่สองกลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกาและ สหภาพโซเวียต) ในคริสต์ทศวรรษ 1960[7] แต่ต่อมาญี่ปุ่นก็ประสบกับสิ่งที่เรียกว่า "การชะงักทางเศรษฐกิจ" เนื่องจากค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น ญี่ปุ่นมีความพยายามโดยการปรุงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเพิ่มมูลค่าของเงินเยน เพราะการปล่อยให้เงินเยนอ่อนค่าอาจส่งผลเสียต่อการค้า[8] แต่แล้วในช่วงทศวรรษ 1980 เงินเยนแข็งค่าขึ้นทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ เพื่อบรรเทาอิทธิพลของภาวะเศรษฐกิจถดถอย ญี่ปุ่นได้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ แต่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 รวมถึงนโยบายเงินฝืดของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทำลายเศรษฐกิจญี่ปุ่นจนเกิดเป็นทศวรรษที่สาบสูญถึงปัจจุบัน

ช่วงการฟื้นตัว (ค.ศ. 1946–1954)

เศรษฐกิจญี่ปุ่นเกิดความตกต่ำหลังอย่างมากหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวอย่าง เช่น อุตสาหกรรมฝ้ายของญี่ปุ่นปิดตัวลง สองในสามของฝ้ายที่ผลิตขึ้นก่อนสงครามถูกทิ้ง รวมไปถึงการถูกทิ้งระเบิดและการถูกทำลายล้างเขตเมืองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้เปอร์เซ็นต์การปั่นด้ายลดลง 20 แห่ง ส่งผลให้ความสามารถในการทอเหลือเพียง 14 เปอร์เซ็นต์ [9] ที่เลวร้ายกว่านั้นคือในปี 1946 ญี่ปุ่นเกือบจะเกิดภาวะอดอยากทั่วประเทศ ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการขนส่งอาหารมาสนับสนุนของอเมริกาเท่านั้น [10] บวกกับภัยคุกคามทางทหารจากสหภาพโซเวียต ทำให้สหรัฐฯ ต้องดำเนินการสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นจในวงกว้าง ในช่วงหลังสงครามแทบทุกประเทศประสบกับปัญหาการเติบโตของอุตสาหกรรม แต่ญี่ปุ่น เยอรมนีตะวันตก และอิตาลี กลับประสบความสำเร็จในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วที่สุด ในกรณีของญี่ปุ่นการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงมากในปี ค.ศ. 1946 เหลือ 27.6% ของระดับก่อนสงคราม แต่ฟื้นตัวในปี 1951 และเพิ่มขึ้นเป็น 350% ในปี ค.ศ. 1960 [11]

หลังจากการยึดครองญี่ปุ่นยุติลง สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในพลิกญี่ปุ่นกลับเข้าสู่เศรษฐกิจโลก และสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ เพราะเหตุนี้ต่อมาเป็นจุดเริ่มต้นปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น [2]

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างรวดเร็วก็คือการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จจากภาครัฐบาล หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นเป็นหลักคือกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม [12] การปฏิรูปเศรษฐกิจที่สำคัญประการหนึ่งคือการนำต้นแบบ "นโยบายการผลิตแบบเอนเอียง" (傾斜生産方式, keisha seisan hoshiki ) มาใช้ นโยบายนี้หมายถึงการผลิตที่เน้นเอียงไปที่การผลิตวัตถุดิบเป็นหลัก เช่น เหล็ก ถ่านหิน และฝ้าย [13] เพื่อกระตุ้นการเติบโตในภาคแรงงาน รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้ผู้หญิงเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อมาทำงานร่วมกับผู้ชายในกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานมีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ข้อจำกัดในการสรรหาและย้ายคนงานในระดับภูมิภาค ห้ามการจัดหาโดยตรงกับผู้ที่พึ่งจบการศึกษาจากโรงเรียนใหม่ และการรับสมัครโดยตรงกับผู้ที่พึ่งจบการศึกษาจากโรงเรียนโดยไม่ได้จบการศึกษาจากโรงเรียนภายใต้กฎระเบียบที่ออกโดยกระทรวงแรงงาน [2]

อีกเหตุผลที่ญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากสงครามเกาหลี เพราะว่าสหรัฐได้เข้ามาช่วยเกาหลีใต้รบ สหรัฐฯ หันไปพึ่งเศรษฐกิจญี่ปุ่นในการจัดซื้ออุปกรณ์และเสบียง เพราะในเวลานั้นการขนส่งทางเรือจากแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯเป็นปัญหาสำคัญของกองทัพ เพราะเหตุนี้อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นก็จัดหาอาวุธและการขนส่งที่จำเป็นแก่กองกำลังอเมริกันที่กำลังทำสงครามในเกาหลี จากความต้องการทั้งหลายนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นทำให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากการโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น

ช่วงเศรษฐกิจฟูฟ่อง (ค.ศ. 1954–1972)

หลังจากญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา และปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศสำเร็จ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็ทะยานได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ถึง 1970 ญี่ปุ่นยังดำเนินการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมจนสำเร็จส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วแห่งแรกในเอเชียตะวันออก จากรายงานประจำปีเกี่ยวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1967 - 1971 มีการเติบโตอย่างสำคัญ เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 1966 มีการเติบโตได้เร็วกว่าที่คาดไว้ [14] กระทั้งปี 1968 เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องหลังจากที่เคยร่วงลงไปต่ำสุดในในฤดูใบไม้ร่วงปี 1965 [15] ลักษณะสำคัญในยุคนี้ก็คืออิทธิพลของนโยบายรัฐบาลฮายาโตะ อิเคดะที่เน้นการบริโภค และการส่งออกจำนวนมาก

ช่วงเศรษฐกิจดันตัวต่อเนื่อง (ค.ศ. 1973–1992)

ในปี 1973 เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันครั้งแรก ในตอนนั้นราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็น13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลง 20% เนื่องจากกำลังการผลิตไม่สามารถตอบสนองความต้องการอุปสงค์ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วได้ จากที่ต้องลงทุนเพิ่มขึ้นจากปัญหาน้ำมันแพงก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เส้นอุปทานที่ตึงตัวและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น[16] ่อมาวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่สองปี 1979 ทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมจาก 13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็น 39.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ถึงแม้ญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบร้ายแรงจากวิกฤตการณ์น้ำมันทั้ง 2 ครั้ง แต่ในที่สุดญี่ปุ่นก็สามารถอดทนต่อเหตุการณ์ดังกล่าวและเปลี่ยนการผลิตจากที่มุ่งเน้นเพียงผลิตภัณฑ์ไปสู่รูปแบบการผลิตที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีได้

ใกล้เคียง

ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน ปาฏิหาริย์แดนประหาร ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ปาฏิหาริย์ เดอะซีรีส์ ปาฏิหาริย์ร้านชำของคุณนามิยะ ปาฏิหาริย์เทวดาตัวบิ๊ก ปาฏิหาริย์สุดท้ายและความตายของนักบุญเซโนเบียส (บอตติเชลลี) ปาฏิหาริย์วิญญาณรักเหนือโลก ปาฏิหาริย์รัก สลับร่าง ปาฏิหาริย์ที่โบลเซนา (ราฟาเอล)