ปฏิทินเกรโกเรียน ของ ปีอธิกสุรทิน

ในปฏิทินเกรโกเรียน ปฏิทินมาตรฐานปัจจุบันในส่วนใหญ่ของโลก ปีอธิกสุรทิน หมายถึง ปีที่หารด้วย 4 ลงตัวเป็นส่วนมาก ในปีอธิกสุรทินแต่ละปีนั้น เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วัน การเพิ่มวันเข้าไปในปฏิทินทุกสี่ปีเพื่อชดเชยตามข้อเท็จจริงที่ว่าระยะเวลา 365 วันนั้นสั้นกว่าปีสุริยคติเกือบ 1/4 วัน หรือ 6 ชั่วโมง

ข้อยกเว้นบางประการต่อกฎนี้มีว่า เนื่องจากระยะเวลาของปีสุริยคติน้อยกว่า 365.25 วันเล็กน้อย จึงกำหนดให้ปีที่หารด้วย 100 ลงตัวมิใช่ปีอธิกสุรทิน แต่ยกเว้นปีที่หารด้วย 400 ลงตัว[2][3] ตัวอย่างเช่น ค.ศ. 1600 และ 2000 เป็นปีอธิกสุรทิน แต่ ค.ศ. 1700, 1800 และ 1900 ไม่ใช่ ดังนั้น ในระยะเวลาสองสหัสวรรษ จะมีปีอธิกสุรทิน 485 ปี โดยกฎนี้ จำนวนวันเฉลี่ยของแต่ละปีจะเท่ากับ 365 + 1/4 − 1/100 + 1/400 = 365.2425 หรือเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 49 นาที 12 วินาที ปฏิทินเกรโกเรียนถูกออกแบบมาเพื่อรักษาวสันตวิษุวัตให้ตรงหรือใกล้เคียงกับวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งเป็นวันอีสเตอร์ (ซึ่งเฉลิมฉลองในวันอาทิตย์หลังคืนจันทร์เพ็ญซึ่งตรงกับหรือหลังวันที่ 21 มีนาคม)[4] ปีวสันตวิษุวัตนั้นมีประมาณ 365.242374 วัน (และกำลังเพิ่มขึ้นทีละน้อย)

กราฟนี้แสดงการแปรผันของวันที่และเวลาของ ครีษมายัน เนื่องจากกฎ "วันปีอธิกสุรทิน" ที่เว้นช่วงไม่เท่ากัน

อธิกวาร

ดูบทความหลักที่: 29 กุมภาพันธ์

วันที่ 29 กุมภาพันธ์เป็นวันที่ซึ่งปกติมีทุกสี่ปี และเรียกว่า อธิกวาร (leap day) วันนี้เพิ่มเข้าไปในปฏิทินในปีอธิกสุรทินเพื่อเป็นมาตรการแก้ไขวันที่ให้ถูกต้อง เพราะโลกไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 365 วันพอดี

ใกล้เคียง

ปีอธิกสุรทิน ปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ