การทำงาน ของ ปีเตอร์_ดรักเกอร์

อาชีพของเขาในฐานะนักคิดทางธุรกิจได้หยุดพักลงในค.ศ. 1942 เมื่อช่วงที่เขาได้เริ่มงานเขียนด้านสังคมและการเมืองซึ่งทำให้เขามีส่วนร่วมในการทำงานภายใน เจนเนอรัล มอเตอร์ (GM) ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้น จากประสบการณ์ในยุโรปได้สร้างความตะลึงใจต่อผู้บริหาร เขาได้แบ่งความประทับใจนี้ต่อโดนัลด์สัน บราวด์ ซึ่งอยู่เบื้องหลังการบริหารควบคุมของจีเอ็ม ในค.ศ. 1943 เขาได้รับการเชื้อเชิญจากบราวน์ให้เขาร่วมปฏิบัติการที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น "การตรวจสอบทางการเมือง": การวิเคราะห์ทางสังคมศาสตร์สองปีของบริษัท ดรักเกอร์ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกระประชุมทุกครั้ง, สัมภาษณ์ลูกจ้าง และวิเคราะห์ถึงการผลิตตลอดจนมีส่วนในการสินใจผลิตเชิงปฏิบัติ

หนังสือเกี่ยวกับผลลัพธ์ คอนเซ็ปท์ ออฟ เดอะ คอร์ปอเรชั่น ก็ยังเป็นที่นิยมในองค์กรจีเอ็มนี้ด้วย ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างหลายส่วนและนำมาซึ่งหลายหัวข้อ, การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำงาน และหนังสือเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามทางจีเอ็มรู้สึกตื่นเต้นอย่างมากกับสินค้าตัวสุดท้าย ดรักเกอร์ให้นึกถึงยักษ์ผู้มีอำนาจที่ต้องการนโยบายบนตำแหน่งสร้างความสัมพันธ์ต่อลูกค้า, ความสัมพันธ์ของผู้กระจายหน้าที่, ความสัมพันธ์ต่อลูกจ้าง และอื่นๆ ภายในบริษัท ดรักเกอร์ได้เสนอแนะถึงสิ่งที่มากกว่าการพิจารณา ประธานจีเอ็มคนสำคัญ อัลเฟรด สโลน รู้สึกสับสนกับหนังสือ "จะเป็นการปฏิบัติอย่างง่ายๆถ้ามันไม่มีอยู่" โดยดรักเกอร์ได้เรียกในภายหลังว่า "ไม่เคยกล่าวถึงมันและไม่เคยมีการรับรองการได้กล่าวถึงในทัศนะของเขา"[10]

ดรักเกอร์ได้สอนคณะผู้บริหารว่าเป็น "ศิลปะแห่งเสรีนิยม" และเขาได้ทำให้รู้สึกว่าข้อมูลการจัดการของเขาเกิดจากการบูรณาการบทเรียนจากประวัติศาสตร์, สังคมวิทยา, จิตวิทยา, ปรัชญา, ศาสนาและวัฒนธรรม เข้าไว้ด้วยกัน[11] เขายังเชื่ออีกด้วยว่าความแข็งแกร่งนั้นมาจากทุกส่วนของสถาบัน อันประกอบด้วย ภาคเอกชน, มีความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งหมด "ความจริงคือ," ดรักเกอร์ได้เขียนไว้ในปี ค.ศ. 1973 การจัดการ: ถือเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก, มีความรับผิดชอบ, และต้องฝึกฝน, "ซึ่งในสังคมสมัยใหม่นั้นจะไม่มีกลุ่มผู้นำอื่นเว้นแต่ผู้จัดการ ถ้าผู้จัดการสถาบันหลักและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจ ไม่สามารถทำหน้าที่โดยรวมให้ดีได้ ก็จะไม่มีใครสามารถที่จะทำให้ดีได้อีกเลย"[12]

ดรักเกอร์สนใจในผลของการเติบโตของผู้คนซึ่งทำงานด้วยใจมากกว่าการทำงานด้วยมือ เขาได้ก่อให้เกิดความสนใจโดยชี้ประเด็นถึงลูกจ้างบางคนผู้ซึ่งรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ที่แน่นอนมากกว่าเจ้านายของพวกเขาหรือผู้ร่วมงาน และยังได้ร่วมมือกับองค์กรขนาดใหญ่อื่นๆด้วย ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจอย่างง่ายๆก็คือเป็นการยกย่องถึงความก้าวหน้าของมนุษย์เรานั่นเอง ดรักเกอร์ได้วิเคราะห์และอธิบายถึงการทำอย่างไรจึงจะเกิดการเปลี่ยนความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการขับเคลื่อนองค์กรได้

งานเขียนของเขาได้เข้าถึงมากยิ่งขึ้นในโลกธุรกิจที่กำลังเติบโตในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ยี่สิบ โดยในเวลานั้น บริษัทขนาดใหญ่ได้พัฒนาประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการผลิตขั้นพื้นฐานกับกระบวนการการจัดการของผลิตผลมวลชน ผู้บริหารหลายรายได้สอนให้คนงานของพวกเขาได้รู้ถึงการขับเคลื่อนในบริษัท และดรักเกอร์ได้นำมันมาอยู่บนความเชื่อของพวกเขาเหล่านั้น ด้วยเกรงว่าองค์กรจะล้าสมัย แต่เขาก็ยังแสดงความเห็นใจ เขาได้คาดว่าผู้อ่านของเขาคงจะเป็นผู้ฉลาด, มีเหตุผล, ทำงานหนักและเข้ากับคนได้ ถ้าองค์กรมีความพยายาม เขาเชื่อว่ามันคงเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นแนวคิดที่อาจล้าสมัย, ทั้งความคิดแคบๆเกี่ยวกับปัญหา หรือความขัดแย้งภายใน

กระทั่งเขาได้เป็นผู้ให้คำปรึกษา ดรักเกอร์ได้ทำงานกับหลายๆบริษัท ซึ่งได้แก่ เจนเนอรอล อิเล็คทริก, โคคา-โคล่า, ซิตี้คอร์ป, ไอบีเอ็ม และอินเทล เขาได้ให้คำปรึกษาแก่ผู้นำธุรกิจที่เรารู้จักกันดี ตั้งแต่ แจ็ค เวลช์ จากจีอี, เอ.จี.แลฟลี่ย์ จาก พรอกเตอร์แอนด์แกมเบิล, แอนดี้ กรูฟ จากอินเทล, จอห์น เบกแมน จากเอ็ดเวิร์ด โจนส์, โชอิจิโร่ โทโยดะ ประธานผู้ทรงเกียรติแห่งโตโยต้า มอเตอร์ กับมาซาโตชิ อิโต้ ประธานผู้ทรงเกียรติแห่ง อิโต้-โยคาโด้ กรุ๊ป ซึ่งเป็นองค์กรขายตรงที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก[13] แม้ว่าเขาจะได้ช่วยสร้างคความสำเร็จให้กับผู้บริหารองค์กร เขาได้ทำให้เกิดความกลัวเมื่อ อันดับฟอร์จูน 500 ซีอีโอ ได้ทำให้ค่าเฉลี่ยคนงานเกิดภาวะลอยตัวซึ่งมีอัตราเกินกว่า 100 ช่วงเวลา เขาได้ให้เหตุผลในปี 1984 โดยพยายามระบุว่าการชดเชยควรจะลดอัตราลงให้เหลือไม่เกิน 20 ช่วงเวลา โดยการจัดลำดับและการทำแฟ้มบันทึก — โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ลูกจ้างได้ถูกเลิกจ้างงานนับพันคน "มันคือสิ่งที่ไม่อาจยกโทษให้ทั้งทางศีลธรรมและทางสังคม," ดรักเกอร์ได้เขียนเอาไว้ "และเราจะชดใช้อย่างหนักสำหรับมัน"[3]

ดรักเกอร์ได้ให้คำปรึกษาสำหรับตัวแทนรัฐบาลหลายแห่งทั้งจากสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และญี่ปุ่น เขาได้ทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและได้ช่วยให้องค์กรเหล่านั้นประสบผลสำเร็จ บ่อยครั้งที่ให้คำปรึกษาระดับอาชีพ ท่ามกลางหน่วยกลุ่มสังคม เขายังได้พิจารณาถึงองค์กรที่มีชื่อว่า Salvation Army, the Girl Scouts of the USA, C.A.R.E., กาชาดอเมริกัน, และ Navajo Nation (ซึ่งเป็นคณะกรรมการของชนเผ่าอินเดียนแดง) ด้วยเช่นกัน[14]

โดยแท้จริงแล้ว ดรักเกอร์ ได้คาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเติบโตของหน่วยสังคมในอเมริกา ซึ่งดำเนินต่อไป ด้วยการอาสาโดยไม่หวังผลกำไร ประชาชนต่างค้นหาถึงการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเขาเป็นต้นตำรับในการคิดโดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีการวางตำแหน่งในงานของพวกเขา แต่นั่นก็เป็นการยากที่จะหาแหล่งทดสอบจากสนามแข่งจริง "ความเป็นพลเมือง และการคิดว่าหน่วยสังคมจะไม่สามารถรักษาความผิดปกติที่มีอยู่ได้ทุกอาการ ทั้งงที่มีอยู่ในเบื้องหลังของนายทุน กับเบื้องหลังของการปกครอง แต่บางทีสิ่งที่ต้องมาก่อนการแก้ปัญหากลับผิดปกติไปด้วย" ดรักเกอร์เขียนเอาไว้ "มันได้ช่วยฟื้นฟูหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ในตัวเมือง ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพลเมือง กับความภาคภูมิใจที่เป็นเครื่องหมายแห่งสังคม"[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปีเตอร์_ดรักเกอร์ http://www.druckersociety.at/ http://www.peterdrucker.at/ http://www.peterdrucker.at/en/more/more_links.html http://businessweek.com/magazine/content/05_48/b39... http://www.businessweek.com/magazine/content/05_48... http://www.communicoltd.com/pages/400_your_workpla... http://www.definitivedrucker.com/ http://www.druckerinstitute.com/ http://www.druckerinstitute.com/about-peter-drucke... http://www.druckerinstitute.com/additional-pieces....