ผงปถมัง

ผงปถมัง หรือ ปถมัง [ปะ-ถะ-หฺมัง] ชื่อวิชาไสยศาสตร์โบราณของไทย ว่าด้วยการทำผงด้วยเวทมนตร์คาถา โดยใช้แท่งดินสอพองเขียนอักขระลงบนกระดานชนวน เริ่มจากลงนะปถมังหรือนะทรงแผ่นดิน บางแห่งเรียกนะปัดตลอด แล้วลบบังเกิดเป็นนะโมพุทธายะ เป็นองค์พระ เป็นมะอะอุ เป็นอุณาโลม เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึงสูญนิพพานจึงเป็นอันสิ้นสุด โดยระหว่างการลงอักขระและลบในขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องมีการบริกรรมสูตร ซึ่งเป็นพระคาถาสำหรับการลงอักขระและลบอักขระต่าง ๆ กล่าวกันว่าเป็นอุบายในการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งในสมัยโบราณ ผงดินสอพองที่ได้จากการเขียนและลบอักขระตามคัมภีร์ปถมังนี้ เรียกว่าผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางด้านอิทธิฤทธิ์อยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้ ชื่อวิชานี้ปรากฏในวรรณกรรมเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนด้วยผงอิทธิเจ (อ่านว่า ผง-อิด-ทิ-เจ) และผงปถมํ (อ่านว่า ผง-ปัด-ถะ-มัง) เป็นผง ใช้สำหรับสร้างพระพิมพ์ ประกอบด้วยสูตรการเขียนผง ผงอื่นๆ จากพระสงฆ์ชื่อดัง ว่านหลายชนิด เช่น ว่านนางกวัก ว่านเพชรน้อย ว่านเพชรใหญ่ ว่านเพชรกลับ เศษพระชำรุดจากพระผงพระสมเด็จกรุต่างๆ เช่น วัดใหม่อมตรส วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร ผงปถมํวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ผงปถมํจากหลวงปู่หิน หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ผงปถมํจาก วัดสามปลื้ม ผงปถมํจาก วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารในครั้งแรก การทดลองพิมพ์พระ เนื้อพระเปราะ แตกและหักง่าย พิมพ์ออกมาแล้วไม่สวยบ้างจึงใช้น้ำมนต์และน้ำมันตั้งอิ้วเป็นตัวประสานผง จนประสบผลสำเร็จ ผลปรากฏต่อมาว่าพระผง เนื้อดี เป็นมันแกร่ง คล้ายพระกรุวัดใหม่อมตรส และที่สำคัญเป็นที่เลื่องลือมากในพุทธคุณ มีความเชื่อด้านเมตตามหานิยม [[แคล้วคลาด]