ผลระยะยาวของโควิด-19

ผลระยะยาวของโควิด-19 หรือมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า โควิดเรื้อรัง[1][2][3] คือภาวะที่ผู้ป่วยที่หายจากระยะป่วยเฉียบพลันของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้วยังมีอาการอยู่ อาการเหล่านี้เช่น ความอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไข้ต่ำ และมึนงง เป็นต้นผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ประมาณ 10% จะมีอาการอยู่นานกว่า 3 สัปดาห์[4] และประมาณ 2% มีอาการอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์[5] เรียกว่ากลุ่มอาการหลังโควิด-19ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผลระยะยาวของโควิด-19 ยังอยู่ระหว่างการศึกษา โดย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ยังไม่มีข้อสรุปทางการแพทย์เกี่ยวกับภาวะนี้ แต่มีการศึกษาฉบับหนึ่งบ่งชี้ว่ามีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ส่งผลกับการเกิดผลระยะยาว ระบบบริการสุขภาพของบางประเทศหรือเขตปกครองได้เริ่มการให้การดูแลกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้โดยจัดเป็นคลินิกพิเศษเพื่อให้การดูแลและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีผลระยะยาวจากโควิด-19ผลระยะยาวของโควิด-19 พบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่ม รวมไปถึงคนหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดี[6] และรวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรกเพียงเล็กน้อยด้วยข้อมูลนับถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ยังไม่มีรายงานว่าตรวจพบอาการที่คล้ายคลึงกับผลระยะยาวของโควิด-19 ในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วกว่า 100,000 ราย[7][8][9]