กำเนิดและการพัฒนา ของ ผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็ง

กลุ่มชาวเอสกิโมได้ทำการถนอมรักษาปลาสดที่จับได้ในน้ำแข็งมาช้านานแล้ว
ชาวไอนุ ชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ก็เรียนรู้การแช่แข็งมาเป็นเวลานานแล้ว โดยพวกเขานำแซลมอนไปแช่แข็งในหิมะเป็นเวลาหลายวัน ทำให้สามารถทานดิบได้โดยไม่เป็นอันตราย เพราะการแช่แข็งทำลายเชื้อโรคในปลาได้[2]
ในปี1912-1915 คลาเรนซ์ เบิร์ดอาย(Clarence Birdseye) ผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นบิดาของการแช่เยือกสมัยใหม่ ได้เข้าไปทำการวิจัยที่รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์(บริเวณขั้วโลก) เขาได้เรียนรู้วิธีดังกล่าวจากชาวไอนุท(Inuit) เขาพบว่าปลาที่เก็บในฤดูหนาวของเขตขั้วโลก(-40°C)เมื่อนำมาละลายแล้วปลาดังกล่าวมีรสชาติใกล้เคียงกับปลาสดที่พึ่งจับได้
ในปี1922 เขาได้ก่อตั้งบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์ประมงแช่เยือกแข็งเป็นครั้งแรก
ในปี1929 เขาได้นำเทคโนโลยีแช่เยือกแข็งอย่างรวดเร็ว(quick freezing)ที่เขาพัฒนามาเผยแพร่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีแช่แข็งสมัยใหม่
ในช่วงยุค30 เมื่อเทคโนโลยีช่องแช่แข็งของตู้เย็นพัฒนาจนถึงระดับที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถซื้อหาเองได้ ผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งก็ได้เริ่มขยายไปสู่ผู้บริโภคทั่วไป
ในช่วงยุค80 เทคโนโลยีไมโครเวฟพัฒนาจนผู้บริโภคทั่วไปสามารถหาซื้อได้ ตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งจึงขยายอย่างรวดเร็ว[3]

ใกล้เคียง

ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็ง ผลิตภัณฑ์ (ธุรกิจ) ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ (เคมี)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็ง http://www.boxoffish.com/3629363436273634361936073... http://www.foodnetworksolution.com/vocab/word/3194 http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0... http://library.uru.ac.th/webdb/images/foodfreezing... http://www.acfs.go.th/news/docs/process_handling_q... http://www.acfs.go.th/standard/download/plaice.pdf http://infofile.pcd.go.th/water/fish.pdf?CFID=8951... http://www.thai-frozen.or.th/th/index.asp