ผักปลัง
ผักปลัง

ผักปลัง


ผักปลัง หรือ ผักปั๋ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Basella alba วงศ์ Basellaceae ไม้เลื้อย ลำต้นอวบน้ำ เกลี้ยง กลม ลำต้นมีสีเขียว ใบเดี่ยว อวบน้ำ เป็นมันหนานุ่มมือ ฉีกขาดง่าย ขยี้จะเป็นเมือกเหนียว ขอบใบเรียบ ดอกช่อเชิงลด ออกตรงซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดเล็ก ไม่มีก้านชูดอก แต่ละดอกมี 5 กลีบ ดอกสีขาว มีริ้วประดับ ติดที่โคนของกลีบรวม กลีบรวมรูประฆัง โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายแยกเป็นห้าแฉกเล็กน้อย เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 อัน ติดที่ฐานของกลีบดอก อับเรณูรูปกลม ติดก้านชูเกสรที่ด้านหลัง เกสรเพศเมีย 1 อัน กลม ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก ผลสด กลมแป้น ฉ่ำน้ำ ผิวเรียบ ปลายผลมีร่องแบ่งเป็นลอน ไม่มีก้านผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงอมดำ ภายในผลมีน้ำสีม่วงดำ เมล็ดเดียวผักปลังมี 2 ชนิดต่างกันตามสีของลำต้นและดอก ถ้าลำต้นเขียว ดอกขาวเรียกผักปลังขาว ถ้าลำต้นแดง ดอกแดงเรียกผักปลังแดง ทั้งสองชนิดรับประทานได้เช่นเดียวกัน ชาวมอญในไทยเรียกผักปลังทั้งสองชนิดรวมกันว่าผักปลังป่า ในขณะที่ภาษามอญเรียกผักปลังว่าฮะลอน ชาวมอญนำมาทำแกงเลียง แกงส้ม ผัดน้ำมัน ลวกจิ้มน้ำพริก[2]ทางภาคเหนือนิยมนำไปทำแกงจิ้นส้มหรือแกงกับแหนม เพราะผักปลังมีเมือกจึงต้องรับประทานกับเครื่องปรุงรสเปรี้ยว[3] นอกจากนี้ ทางภาคเหนือและอีสานนำมาแกงกับถั่วเน่า ทำจอผักปลัง ดอกตูมใส่ในแกงส้ม ผัดกับแหนม แกงเลียง ในกรุงเทพฯ นิยมนำมาผัดไฟแดงหรือผัดน้ำมันหอย[4] ชาวไทยทางภาคเหนือและชาวไทลื้อนำยอดอ่อนมาแกง ชาวไทยภาคเหนือและชาวเมี่ยนต้มยอดอ่อนให้สตรีที่อยู่ไฟกินเป็นยาบำรุง ชาวม้งนำยอดอ่อน แกงหรือใส่ต้มไก่เป็นยาบำรุงเลือดลมสำหรับคนที่เลือดลมไม่ดี ชาวไทเมืองนำเถามัดเอวให้สตรีใกล้คลอดเชื่อว่าช่วยให้คลอดง่าย ผลสุก ใช้แต่งสีม่วงในขนม เช่น ขนมบัวลอย ซ่าหริ่ม[5]ในตำรายาไทย ดอก ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคเรื้อน ดับพิษฝีดาษ แก้เกลื้อน คั้นเอาน้ำทาแก้หัวนมแตกเจ็บ ต้น แก้อึดอัดแน่นท้อง ระบายท้อง แก้อักเสบบวม ต้มดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ ราก แก้รังแค แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องผูก แก้พรรดึก ขับปัสสาวะ ใช้ทาถูนวดให้ร้อน เป็นผักที่มีเมือกมาก กินแล้วช่วยระบาย[6]