ประโยชน์ ของ ผักเขียด

ทางเกษตร

เลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก

ทางอาหาร

ยอดอ่อน ใบอ่อนและดอก จะออกในช่วงหน้าฝนใช้รับประทานเป็นผัก นิยมรับประทานทั้งต้น มักเก็บช่วง 2–3 อาทิตย์แรกเท่านั้น หลังจากนั้นต้นจะแก่ รับประทานไม่อร่อย วิธีรับประทานเป็นอาหาร จะรับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก หรือกับแกงรสจัดของภาคใต้ หรืออาหารรสจัดประเภท ลาบ ยำ ก้อย ส้มตำได้ นอกจากนี้ยังนำไปแกงส้ม แกงกับปลา หรือเนื้อหมู

ทางยา

ใบของผักเขียด นำมาคั้นน้ำรับประทาน แก้ไอ ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี หรือรับประทานใบสดจะมีสรรพคุณ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ

ผักเขียดมีรสจืด เย็น เหมาะรับประทานเพื่อลดความร้อนในร่างกาย

ผักเขียด 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 13 กิโลแคลอรี[2]ประกอบด้วย

เส้นใยแคลเซียมฟอสฟอรัสเหล็กวิตามินเอวิตามินบีหนึ่งวิตามินบีสองไนอาซินวิตามินซี
0.8 กรัม13 มิลลิกรัม6 มิลลิกรัม6 มิลลิกรัม3000 IU0.04 มิลลิกรัม0.10 มิลลิกรัม0.1 มิลลิกรัม18 มิลลิกรัม