ประโยชน์ ของ ผักแว่น

  • ใช้เป็นยาภายนอก รักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณแผล สารที่ออกฤทธิ์คือ กรด Madecassic, Asiatic acid และ Asiaticoside acid ซึ่งช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ[2]
  • น้ำต้มใบสด : รสจืดเย็นฝาดหวานเล็กน้อย สมานแผลในปากและลำคอ ดื่มระงับอาการร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย
  • ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน ผักแว่นมักนำมากินเป็นผักสดกับน้ำพริก หรือเป็นเครื่องเคียงกับอาหารชนิดต่าง ๆ โดยสามารถนำมากินสดได้ทั้ง ใบอ่อน ก้านใบ และยอดอ่อน หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรูปแบบอื่น ๆ เช่น แกงผักแว่น ผัดเผ็ดหมูผักแว่น
  • ในประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในเมืองสุราบายา มักนำผักแว่นเสิร์ฟพร้อมกับมันเทศและเพเซล (Pecel) ซึ่งเป็นซอสเผ็ดทำจากถั่วลิสงของอินโดนีเซีย[3]
  • ชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) ใช้ผักแว่นทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม เพื่อแก้เจ็บคอ แก้เสียงแหบ
ผักแว่น
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน627.6 kJ (150.0 kcal)
1.2 ก.
1 ก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(4%)
37 มก.
เหล็ก
(27%)
3.5 มก.
ฟอสฟอรัส
(9%)
66 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่