การใช้ประโยชน์ ของ ผักโขม

  • ทางอาหาร – ยอดอ่อน ใบอ่อน ต้นอ่อน นำมาต้ม,ลวกหรือนึ่งให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกเช่น น้ำพริกปลาร้า ปลาจ่อม กะปิ ปลาทูและน้ำพริกอีกหลายชนิด หรือนึ่งพร้อมกับปลา ทำผัดผักกับเนื้อสัตว์ นำไปปรุงเป็นแกงเช่น แกงเลียง[2][4] ชาวไทยอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ บอกว่ากินใบผักโขมเป็นอาหาร เป็นยาชูกำลัง ทำให้สุขภาพดี[5]
  • ทางยา – ทั้งต้น ดับพิษภายในและภายนอก แก้บิด มูกเลือด ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้ผื่นคัน แก้รำมะนาด รักษาฝี แผลพุพอง[4] ใบสด รักษาแผลพุพอง ต้น แก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ ราก ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ[2]
  • อื่นๆ – สมัยกรีกโบราณ ผักโขม หรือ amaranth เป็นของศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าผักโขมมีฤทธิ์ในการเยียวยา และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ มีการใช้ภาพของใบผักโขมในการประดับที่อยู่ของพระเจ้าและหลุมศพต่างๆ ดูจากการใช้งานทางการแพทย์ก็พอจะเห็นว่า ผักโขมเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ได้

ผักโขมมีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที โดยสารสกัดจากใบ ลำต้นและรากที่สกัดด้วยน้ำแล้วเจือจางให้ได้ความเข้มข้น 20 – 100 % ยับยั้งการงอกของเมล็ดพริกพันธุ์จินดา[6]