ผีในวัฒนธรรมไทย
ผีในวัฒนธรรมไทย

ผีในวัฒนธรรมไทย

ชาวไทยเชื่อว่า ผีสามารถให้คุณหรือให้โทษได้ หากเซ่นสวรวงหรือบูชาไม่ถูกต้อง เช่น ผีขุนน้ำ คือ เทพอารักษ์ประจำต้นน้ำแต่ละสาย ซึ่งสถิตอยู่บนดอยสูง ผีขุนน้ำมักอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านจะอัญเชิญมาสถิตที่หอผีที่ปลูกอย่างค่อนข้างถาวรใต้ต้นไม้เหล่านี้ ผีขุนน้ำที่อยู่ต้นแม่น้ำใด ก็มักจะได้ชื่อตามแม่น้ำนั้น เช่น ผีปันน้ำ (เทือกเขาผีปันน้ำ ในภาคเหนือ) หรือผีมด และ ผีเมง คือ ผีบรรพบุรุษตามความเชื่อของชาวล้านนา (คำว่า "มด" หมายถึงระวังรักษา) ส่วนผีเมงนี้เข้าใจกันว่ารับมาจากชนเผ่าเม็งหรือมอญโบราณ, ผีเจ้าที่ หรือพระภูมิเจ้าที่ คือผีที่รักษาประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เป็นผู้ดูแลรักษาเขตนั้น ๆ ดังนั้น คนโบราณเมื่อเดินทางและหยุดพักที่ใด มักจะบอกขออนุญาตเจ้าที่ทุกครั้งนอกเหนือไปจากผีดังกล่าวแล้ว ในแต่ละท้องถิ่นยังมีผีอีกหลายประเภท เช่น ผีกละ หรือ ผีจะกละ เป็นผีที่มักเข้าสิงผู้คนเพื่อเรียกร้องจะกินอาหาร เมื่อเข้าสิงใคร ก็จะแสดงกิริยาผิดปกติไป เมื่อคนสังเกตเห็นก็มักร้องขอกินอาหารและจะกินอย่างตะกละตะกลาม จึงเรียกผีกละตามลักษณะการกิน แต่มักเขียนเป็นผีกะ หรือผีกละยักษ์ เป็นผีที่อยู่รักษาสถานที่ต่างๆ เช่น วัดร้าง, ถ้ำ หรือที่ซึ่งมีสมบัติฝังหรือซ่อนอยู่ ผีกละยักษ์จะคอยพิทักษ์สมบัติเหล่านั้น จนกว่าเจ้าของจะรับทรัพย์สินเหล่านั้นไป ในกรณีผีกละยักษ์ที่อยู่ในวัด เล่ากันว่า มักจะเป็นวิญญาณของพระหรือเจ้าอาวาสที่ผิดวินัย เมื่อตายแล้วไปเกิดไม่ได้ จึงต้องทำหน้าที่พิทักษ์วัดไปจนกว่าจะสิ้นกรรม รูปร่างของผีกละยักษ์ไม่แน่นอน บ้างก็ว่าเป็นหมูตัวใหญ่ที่มีร่างกายเป็นทองแดง บ้างก็ว่าเป็นสุนัขใหญ่สีดำสนิททั้งตัว เป็นต้นผี มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวไทยมาแต่โบราณ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย จนเกิดเป็นข้อห้าม หรือคะลำ ในภาษาอีสานต่าง ๆ ที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคไป เช่น ห้ามกินเลือด, ห้ามเลี้ยงนกฮูก, นกเค้าแมว, นกแสก, และค้างคาว, ห้ามเคาะจานข้าว, ห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน หรือห้ามเผาศพในวันศุกร์ เป็นต้น[1] [2] [3]