ตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ ของ ผู้ครองราชสมบัติร่วม

การครองราชสมบัติร่วมนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยเฮลเลนิสติก ตามที่นักวิชาการท่านหนึ่งได้กล่าวว่า "โดยปกติแล้วสามารถอธิบายได้ว่าการครองราชสมบัติร่วมเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงวิกฤตการสืบราชสันตติวงศ์หรือความขัดแย้งภายใน และเป็นการเสริมสร้างเอกลักษณ์และอุดมการณ์ของราชวงศ์"[1] ตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่ การครองราชสมบัติร่วมของพระเจ้าเฟรดเดอริกที่ 1 แห่งออสเตรียและจักรพรรดิลูทวิชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชอาณาจักรเยอรมนี นอกจากนี้ยังสามารถพบผู้ปกครองตามสิทธิ์ของพระมเหสี (Jure uxoris) ในราชอาณาจักรต่างๆ เช่น สเปนและโปรตุเกส (พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 และสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา, พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 และสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยา, พระเจ้าเปดรูที่ 3 และสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส เป็นต้น) และในราชอาณาจักรนาวาร์ พระสวามีของสมเเด็จราชินีนาถผู้ทรงครองราชย์ทรงได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้ปกครองร่วม[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

ผู้ครองราชรัฐลักเซมเบิร์ก ผู้ครองราชสมบัติร่วม ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ประเทศไทย) ผู้ประกอบการรับรอง ผู้บริสุทธิ์ ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ ผู้รักษาประตู ผู้เร่ร่อนดิจิทัล