ประวัติ ของ ผู้จัดการออนไลน์

ผู้จัดการรายวัน

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โดยสนธิ ลิ้มทองกุล เริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่น ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬพ.ศ. 2535 หลังการปราบปรามประชาชน ที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขณะที่สื่อโทรทัศน์ในประเทศ ถูกควบคุมการเสนอข่าวโดยรัฐบาล และไม่รายงานการสูญเสียชีวิตของประชาชน ต่อมามีการตรวจสอบ และควบคุมการเสนอข่าว และภาพข่าว ที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการรายวัน ร่วมกับหนังสือพิมพ์อื่น เช่น เดอะเนชั่น, กรุงเทพธุรกิจ และ แนวหน้า ตีพิมพ์ภาพข่าวการปราบปรามประชาชน นอกจากนั้น ยังมีการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการฉบับพิเศษ แจกฟรีไปทั่วกรุงเทพมหานคร เพื่อรายงานข่าวการชุมนุมบนถนนราชดำเนิน จนถูกรัฐบาลดำเนินคดี และสั่งปิดเป็นเวลาสองวัน

ระยะเปลี่ยนผ่าน

  • วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - ผู้จัดการ 2551 รายวัน โดยยังคงนับจำนวนปี และจำนวนฉบับ ต่อเนื่องจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเดิม
  • วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - สารจากเอเอสทีวี โดยทีมงานผู้จัดการ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่ปรากฏการนับปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ รวมถึงไม่มีบรรณลักษณ์ภายในฉบับอีกเช่นกัน

เอเอสทีวีผู้จัดการ

  • เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทีมงานกองบรรณาธิการชุดเดิมของผู้จัดการรายวัน ออกหนังสือพิมพ์โดยใช้ชื่อว่า เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน โดยเริ่มระบุการนับเลขปี และเลขฉบับบนหัวหนังสือ เป็นฉบับปฐมฤกษ์ มีราคาจำหน่าย 20 บาท โดยในเบื้องต้นระบุในบรรณลักษณ์ว่า บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นเจ้าของ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น บริษัท เอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด เป็นเจ้าของ

ผู้จัดการรายวัน (กลับคืนมา)

ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 จำนวนพิมพ์ก็เพิ่มขึ้นไปหลายสิบเท่าตัว เป็นผลให้เจ้าของใบอนุญาตออกหนังสือพิมพ์ ขอชื่อกลับคืนไปดำเนินการเอง ขณะเดียวกัน รัฐบาลสมัยที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี คืนใบอนุญาตออกหนังสือพิมพ์ผู้จัดการกลับมา กองบรรณาธิการชุดใหม่ของผู้จัดการจึงเปลี่ยนมาใช้ชื่ออีกครั้ง ผู้จัดการรายวัน จนถึงปัจจุบัน[2]

ใกล้เคียง

ผู้จัดการออนไลน์ ผู้จัดการ (ฟุตบอล) ผู้จัดจำหน่ายวิดีโอเกม ผู้จัดการศิลปิน ผู้จัดการมวยปล้ำอาชีพ ผู้จัดการ ผู้จัดการโครงการ ผู้จัดการรายวัน ผู้จับจอง ผู้จัดการทีมของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด