ประวัติ ของ ฝอยทอง

ฝอยทองในเมืองฟุกุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่นฝอยทอง ที่ซื้อจากร้านขายขนมในประเทศบราซิล

ประเทศไทย

ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (ท้าวทองกีบม้า, พ.ศ. 2202-2265) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น

ทั้งนี้ฝอยทอง ปรากฏอยู่ใน กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่พระราชนิพนธ์ชมเชยฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวยของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ความว่า[6]

ฝอยทอง เป็นยองใยเหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
คิดความยามเยาวมาลย์เย็บชุนใช้ไหมทองจีนฯ

ประเทศญี่ปุ่น

เครังโซเม็งเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นในยุคอาซูจิ–โมโมยามะ (ญี่ปุ่น: 安土桃山時代) ช่วงปี ค.ศ. 1568 – ค.ศ. 1600 (พ.ศ. 2111-2143) ที่จังหวัดนางาซากิ โดยพ่อค้าชาวโปรตุเกส[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นจึงแพร่หลายไปยังจังหวัดฟุกุโอกะ และเริ่มทำเพื่อจำหน่ายตามร้านขนมต่าง ๆ ในยุคเมจิ (ญี่ปุ่น: 明治時代 Meiji-jidai เมจิจิได) เมื่อ 342 ปีก่อน ร้าน Matsuyariemon ที่จังหวัดฟุกุโอกะ ได้ทำเครังโซเม็งขึ้นซึ่งเป็นขนมหวานที่เป็นเอกลักษณ์ประจำของร้าน โดยปัจจุบันนั้นได้ดำเนินงานโดยรุ่นที่ 13[ต้องการอ้างอิง]