พงศาวดาร

พงศาวดาร คือบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น ๆ[1]พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานชั้นต้น เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียด ประกอบกับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ บ้างใช้มหาศักราช บ้างใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

ใกล้เคียง

พงศาวดาร พงศาวดารเหนือ พงศาวดารราชวงศ์โชซ็อน พงศาวดารเขมร ฉบับนักองค์เอง พงศาวดารแห่งจอร์เจีย พงศาวดารเมืองพระตะบอง พงศาวดารโยนก พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ พงศาวดารมอญฉบับปากลัด พงศาวดารมลายู